ความเชื่อในการดูแลสุขภาพบางอย่างที่เราทำตาม อาจจะทำให้เราดูอ้วนขึ้นได้

อ่าน 2,487

การใส่ใจสุขภาพเป็นเรื่องที่คนยุคใหม่ให้ความสำคัญกันอย่างมาก หลายคนจึงพยายามเรียนรู้ศึกษาหาข้อมูลเพื่อดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะปัญหาใหญ่อย่างความอ้วน แต่รู้ไหมว่าความเชื่อในการดูแลสุขภาพบางอย่างที่เราทำตามก็อาจจะเผลอทำให้เราดูอ้วนขึ้น น้ำหนักไม่ยอมลดเป็นความเชื่อผิดๆ ส่งผลเสียต่อร่างกาย ความเชื่อที่ว่าอะไรกันบ้างนั้นเราตามมาดูกันได้เลยค่ะ

ความเชื่อที่ 1: สมูทตี้สีเขียวทำให้สุขภาพดี

ความจริง: การทานผักสีเขียวจำนวนมากนั้นย่อมดีกว่า

นักโภชนาการกล่าวไว้ว่า การนำผักและผลไม้ไปบดอัดเป็นสมูทตี้เพื่อให้ร่างกายทานง่ายขึ้นโดยเราไม่จำเป็นต้องเคี้ยวให้ยุ่งยาก สิ่งนี้ไม่ได้ส่งผลดีกับร่างกายเราสักเท่าไหร เพราะน้ำตาลธรรมชาติที่พบในพืชผักบางชนิด เช่น เครื่องดื่มสมูทตี้จากแครอทหัวบีทรูทและแอปเปิ้ลจะเข้าสู่กระแสเลือดของเราได้เร็วขึ้น นั่นหมายความว่าเราจะมีอาการโหยหิวมากขึ้นหลังจากดื่มสมูทตี้ประมาณสองสามชั่วโมงซึ่งอาจทำให้เราอยากทานอาหารมากขึ้น

สิ่งที่ควรทำ: เราสามารถทานสมูทตี้หรือน้ำผลไม้เพิ่มเติมได้ แต่ไม่ควรเน้นให้เป็นมื้อหลักแล้วเลือกพึ่งพาสิ่งนี้แทนที่จะกินผลไม้สด ดื่มน้ำปั่นหรือน้ำผลไม้วันละ 1 แก้วงดผสมน้ำตาล และหากต้องการให้ผลไม้มีรสหวานมากขึ้นควรเลือกผลไม้ GI ต่ำ เช่น เบอร์รี่หรือแอปเปิ้ล อาจผสมนมถั่วเหลือง นมอัลมอนต์ไขมันต่ำเพื่อเพิ่มความรู้สึกอิ่มท้องได้ยาวนาน

ความเชื่อที่ 2: ธัญพืชที่ปราศจากน้ำตาลไม่ทำให้อ้วน

ความจริง: น้ำตาลจากธรรมชาติก็ทำให้น้ำหนักขึ้นได้

ผลิตภัณฑ์ที่กำกับคำว่า "ปราศจากน้ำตาล" อาจเป็นสินค้าที่ดูคุ้มค่าสมกับราคาที่หลายคนอยากพร้อมจ่าย แต่มันไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดถ้าสิ่งนั้นคือซีเรียล ผลไม้อบแห้งราคาแพงๆ เพราะผลไม้แห้งหรือธัญพืชทั่วไปที่เขียนไว้ว่าปราศจากน้ำตาล เช่น ลูกเกด ยังคงมีสิ่งที่เหลืออยู่คือน้ำตาล ฟรุกโตส จากธรรมชาติ ที่อาจส่งผลทำให้เกิดน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น การทานอาหารที่อุดมด้วยฟรุกโตส เช่น ผลไม้ตากแห้งยังมีส่วนทำให้ร่างกายรู้สึกโหยหาความหิวอยู่ตลอดอีกด้วย

สิ่งที่ควรทำ : อย่าดูแค่คำว่าปราศจากน้ำตาล แต่เช็คข้อมูลโภชนาการทั้งหมดให้ครบถ้วนทั้งปริมาณน้ำตาล รวมถึงการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีะดับน้ำตาลที่ต่ำที่สุด หากไม่อยากอ้วนเน้นเลือกทานข้าวโอ๊ต หรือธัญพืชเชิงเดี่ยวอื่นๆ จากนั้นเพิ่มผลไม้สดสับลงไปเล็กน้อยเพื่อให้ความหวานมันจะช่วยทำให้เราอิ่มท้องยาวนานขึ้น ไม่ต้องกังวลถึงน้ำตาลแฝงภัยเงียบที่อาจมาโดยไม่รู้ตัว

ความเชื่อที่ 3: หลีกเลี่ยงการทานคาร์โบไฮเดรตในตอนเย็น

ความจริง: ร่างกายของเราไม่รู้วิธีดูนาฬิกา

ไม่มีหลักฐานชี้แน่ชัดว่าการทานคาร์โบไฮเดรตในเวลากลางคืนจะทำให้คุณมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น แต่มันเกี่ยวข้องกับพลังงานที่ทานเยอะกว่าปริมาณที่ควรได้รับต่อวันต่างหากละ ดังนั้นการทานคาร์บตอนกลางคืนไม่ได้ทำให้อ้วนแต่อย่างใด หากเลือกทานคาร์บที่มีประโยชน์ให้พลังงงานไม่เกินความต้องการของวัน การทานคาร์บตอนกลางคืนจะช่วยให้เรานอนหลับได้ดีขึ้นช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเช่นทริปโตเฟนซึ่งช่วยผลิตสารสื่อประสาทที่ช่วยให้ประสาทสงบและ ช่วยให้เรานอนหลับ ยกตัวอย่างเข่น การทาน ข้าวโอ๊ตผสมโยเกิร์ตธรรมชาติก่อนนอนเป็นอาหารว่างที่ดีเพราะมีไขมันต่ำและอุดมไปด้วยวิตามินบีที่ช่วยบรรเทาประสาทหลับสบาย

สิ่งที่ควรทำ: เน้นทานคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมช้าๆ เช่น  ควีนัว ข้าวกล้อง ข้าวโอ็ต มันเทศ

ความเชื่อที่4: ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ดีต่อสุขภาพ

ความจริง: น้ำอาจนำพาสารอาหารต่างๆ ออกสู่ร่างกาย เกิดอาการบวมน้ำ

ความเชื่อของการดิ่มน้ำให้ได้วันละ 8 แก้วดีต่อสุขภาพเรื่องนี้ใครก็รู้ แต่การดื่มทันที่ทันใดอาจทำให้กระเพาะอาหารขยายใหญ่เกิน การดื่มน้ำเป็นประจำตลอดทั้งวันเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยหลีกเลี่ยงการขาดน้ำ แต่เราต้องเข้าใจก่อนว่า "ถ้าเราดื่มน้ำมากเกินไปอาจทำให้ไตทำงานหนักเกินไปและขับถ่ายสารอาหารที่มีคุณค่าจากอาหารผ่านทางปัสสาวะโดยไม่ปล่อยให้ร่างกายดูดซึม บางคนดื่มน้ำเยอะตื่นเช้ามาหน้าบวมน้ำไปอีก แทนที่ร่างกายจะได้รับสิ่งดีดีอาจเสียประโยชน์จากสารอาหารต่างๆไปโดยไม่รู้ตัว

สิ่งที่ควรทำ: เน้นจิบน้ำบ่อยๆ อย่าดื่มหนักครั้งเดียว ทานอาหารที่อุดมด้วยน้ำ เช่น แตงกวา, ขึ้นฉ่าย, แตงโมและสตรอเบอร์รี่ เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซับน้ำได้ดีขึ้น

ความเชื่อที่ 5: ค่าดัชนีมวลกายเป็นตัวชี้วัดน้ำหนัก

ความจริง: อัตราส่วนสะโพก / เอวนั้นสำคัญกว่า

อยากเช็คหุ่นดีต้องดูที่ BMI แต่นี่ไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของการมีสัดส่วนสุขภาพที่ดี เพราะสิ่งนี้ไม่สามารถการันตีว่าในร่างกายมีสัดส่วนไขมันกล้ามเนื้อที่ดีเหมาะสมหรือไม่  เช่น นักกีฬารักบี้ที่มีค่าดัชนีมวลกายเป็นโรคอ้วน แต่ในความเป็นจริงพวกเขามีไขมันในร่างกายเพียง 8% เพราะพวกเขามีกล้ามเนื้อมากเกินไป ซึ่งหากดูแต่ค่า BMI เค้าอาจดูเหมือนคนเป็นโรคแต่ความจริงแล้วสุขภาพเค้าแข็งแรงสมส่วนเป็นอย่างมาก

สิ่งที่ควรทำ: แทนที่จะเน้นค่าดัชนีมวลกาย ลองให้ความสำคัญกับอัตราส่วนรอบเอว สะโพกจะดีกว่า อย่างน้อยก็จะดูถึงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค การมีไขมันพอกที่อาจจะนำพาไปสู่โรคอ้วนอย่างถาวร

ความเชื่อที่ 6: ออกกำลังกายหนักและเวลาสั้นดีต่อร่างกาย

ความจริง: ทำลายกล้ามเนื้อไขมันไม่ลด

Hight Intensify Interval Training หรือ HIIT เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นรูปแบบของการฝึกความแข็งแกร่งในระยะเวลาอันสั้น มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ในเวลาสั้นๆ ประมาณ 5 นาทีคุณจะผอมลงและมีความสมดุลมากกว่าเมื่อออกกำลังกายในระดับที่ยาวขึ้น แต่ปัญหาคือคนที่ออกกำลังกาย HIIT ด้วยความปรารถนาที่จะลดน้ำหนักส่วนใหญ่ไม่ได้ทำอย่างดีที่สุดเพื่อรับผลประโยชน์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ใน HIIT 5-10 นาทีแต่ส่วนใหญ่แล้วคนเรามักจะแอบโกงออกกำลังกายด้วยความอดทนได้แค่ประมาณ 60% แน่นอนว่าผลลัพธ์ที่ได้ก็เท่าเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นเลย

สิ่งที่ควรทำ: เน้นทำบ่อยๆ ค่อยๆ เป็นไปจะเห็นผลดีกว่าลองออกกำลังกาย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ซ้ำๆ ประมาณ 5 ครั้งภายใน 30 นาทีเซ็ทหนึ่งทำต่อเนื่อง 15-25 ครั้ง เช่น การควอช จากนั้นออกกำลังกายต่อเนื่องติดกันยาว 30 นาทีจะทำให้การลดน้ำหนักได้ผลเร็วขึ้นแน่นอน

ความเชื่อที่ 7: แค่จ็อกกิ้งก็ลดน้ำหนักได้

ความจริง: จ๊อกกิ้งสามารถทำให้คุณอ้วนได้

มีความจริงข้อหนึ่งของการออกกำลังกายกล่าวไว้ว่า ผู้หญิงมักจะวิ่งออกกำลังกายทุกวันแต่ไม่เคยลดน้ำหนักได้สักที เพราะการวิ่งเป็นเวลานาน เยาะแยะอย่างการจ็อกกิ้งนานๆ ด้วยความปรารถนาที่จะลดน้ำหนักบางทีอาจเป็นการทำลายกล้ามเนื้อให้สูญเสียไปแต่ไขมันยังเท่าเดิม ซึ่งเป็นความผิดพลาดหนักสุดในการลดน้ำหนัก เมื่อคุณต้องการกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มการเผาผลาญของร่างกาย ควรวิ่งให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 65%  เพือรักษาสถานะ "catabolic" ซึ่งหมายความว่าร่างกายเริ่มเรียนรู้การเก็บกล้ามเนื้อและนำไขมันออกไปใช้ได้ดีขึ้น

สิ่งที่ควรทำ : ถ้ารักการลดน้ำหนักโดยการวิ่ง ให้ลองออกไปวิ่งที่สวนสาธารณะหรือพื้นที่ใกล้บ้าน ทำการวิ่งเร็วประมาณ 100 เมตรสลับเดินทำซ้ำประมาณ 6-7 นาที วิธีนี้สามารถเผาผลาญแคลอรี่โดยที่ร่างกายไม่เครียดมากเกินไป ตั้งเป้าให้ได้ 15,000 ก้าวต่อวันรับลองน้ำหนักลดลงได้ง่ายแน่

ความเชื่อที่ 8: กินผักและผลไม้วันละ 5 มื้อ

ความจริง: ทาน 8 มื้อช่วยปรับปรุงระบบเผาผลาญได้ดีขึ้น

มีความเชื่อที่ว่าการทานมื้อย่อยจำพวกอาหารที่มีประโยชน์อย่างผักและผลไม้ 5 มื้อทำให้การลดน้ำหนักดีขึ้นได้  แต่ความจริงแล้วการทานผักผลไม้ 8 มื้อช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจให้ลดลงได้ถึง 22%และนั่นก็ทำให้การลดน้ำหนักเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาได้

สิ่งที่ควรทำ: ลองตั้งเป้าหมายที่จะกินผักผลไม้ให้ได้ 8-9 มื้อเลือกเมนูผลไม้สัก 2 อย่าง เน้นผลไม้น้ำตาลน้อย เช่น แอปเปิ้ล เบอร์รี่และ ลูกแพร์ก็สามารถปรับปรุงระบบเผาผลาญลดการหิวโหยอยากอาหารทำให้น้ำหนักลดได้ง่ายขึ้น

เชื่อว่าต้องมีสักหนึ่งข้อที่เราเชื่อและทำตามมาโดยตลอด ถึงว่าดูแลสุขภาพแต่แปลกน้ำหนักไม่ยอมลด แถมยังได้ความอ้วนเพิ่มตามมาอีกซะนิ รู้แบบนี้รีบปรับพฤติกรรมเน้นทานของมีประโยชน์ออกกำลังกายให้ถูกวิธีทุกคนต้องพิชิตความอ้วนกันได้แน่นอนค่ะ


ลดน้ำหนัก

เครื่องสำอาง แม่และเด็ก คลินิก สุขภาพ สกินแคร์ แต่งหน้า ทรงผม ทำเล็บ แฟชั่น ความรัก ดูดวง วาไรตี้ ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย คติสอนใจ ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ร้านคาเฟ่