Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และอยู่ในระบบประกันสังคมสามารถใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้

การตัดสินใจมีบุตรสักคน เป็นเรื่องสำคัญของครอบครัว เพราะนอกจากจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้ว ค่าใช้จ่ายก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการมีบุตร เริ่มตั้งแต่การฝากครรภ์ การคลอดบุตร การเลี้ยงดูบุตร ซึ่งมักจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง แต่สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์และอยู่ในระบบประกันสังคม อาจจะสามารถแบ่งเบาค่าใช้จ่ายดังกล่าว โดยการใช้สิทธิประโยชน์จากประกันสังคมได้ เราจึงนำข้อมูลจาก K-Expert ที่ได้อัปเดตสิทธิประโยชน์ประกันสังคมช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของคนเป็นแม่ได้มาฝาก

สิทธิค่าตรวจและการฝากครรภ์

ประกันสังคมได้มีการเพิ่มประโยชน์ทดแทนค่าตรวจครรภ์และฝากครรภ์ให้แก่ผู้ประกันตนอีก 1,000 บาท โดยแนวทางการขอรับประโยชน์ทดแทน จะต้องมีการจ่ายเงินเข้าประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเดือนที่ใช้สิทธิ

เช่น ถ้าเริ่มตั้งครรภ์เดือนมีนาคม 2562 ประกันสังคมจะนับย้อนหลังไป 15 เดือน จากเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งภายในช่วงเวลาดังกล่าว ต้องมีการจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน และจะต้องมีหลักฐานการเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลที่ไปใช้บริการฝากครรภ์ในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ สิทธิการตรวจและการฝากครรภ์ให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2561 โดยประกันสังคมจะจ่ายผลประโยชน์ทดแทนให้ตามอายุครรภ์

– อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ประกันสังคมจะจ่ายให้ตามจริง แต่ไม่เกิน 500 บาท
– อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ประกันสังคมจะจ่ายให้ตามจริง แต่ไม่เกิน 300 บาท
– อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ ประกันสังคมจะจ่ายให้ตามจริง แต่ไม่เกิน 200 บาท

ผู้ประกันตนสามารถยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในส่วนค่าตรวจและรับฝากครรภ์เพิ่มเติมได้ ไม่ต้องรอให้มีการคลอดบุตร หรือจะยื่นขอรับพร้อมกับการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรก็ได้ กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าตรวจและรับฝากครรภ์เพียงฝ่ายเดียว ไม่สามารถใช้สิทธิพร้อมกันในการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง

สิทธิค่าคลอดบุตร

สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรแต่ละครั้ง จากเดิมไม่เกิน 2 ครั้ง มาเป็นไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้เมื่อมีการจ่ายเงินเข้าประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร โดยนำสูติบัตรมาประกอบการยื่นเรื่องเบิกได้ที่สำนักงานประกันสังคม กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น

สิทธิการลาคลอด

คุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนสามารถลาคลอดได้ 90 วัน และจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรไม่เกิน 2 ครั้ง ในอัตราครั้งละร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย (ฐานเงินค่าจ้างสูงสุดที่นำส่งประกันสังคมอยู่ที่ 15,000 บาท) เป็นเวลา 90 วัน

ตารางแสดงผลประโยชน์ทดแทนที่ได้รับจากประกันสังคมจากการคลอดบุตร 1 ครั้ง (หน่วยเป็นบาท)
ประกันสังคม

สิทธิเงินสงเคราะห์บุตร

ประกันสังคมได้เพิ่มประโยชน์การรับเงินสงเคราะห์บุตรให้คุณพ่อหรือคุณแม่ผู้ประกันตนเพิ่มขึ้นจากเดือนละ 400 บาท ต่อบุตร 1 คน เป็นเดือนละ 600 บาท ต่อบุตร 1 คน และเบิกได้ไม่เกิน 3 คน โดยให้มีผลย้อนหลังใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 โดยจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร เมื่อมีการจ่ายเงินเข้าประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน

ในการรับสิทธิเงินสงเคราะห์บุตรต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย มีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ (ไม่รวมบุตรบุญธรรม หรือบุตรที่ได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น) แม้ว่าคุณพ่อหรือคุณแม่ที่ใช้สิทธิเกิดทุพพลภาพหรือเสียชีวิตก่อนลูกมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ ประกันสังคมก็ยังจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรจนบุตรมีอายุ 6 ปีบริบูรณ์ โดยจ่ายให้กับผู้อุปการะบุตร ซึ่งผู้อุปการะสามารถยื่นคำขอเพื่อรับสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่

ตารางแสดงการจ่ายเงินของประกันสังคม กรณีจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรเพิ่มย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป

กลุ่มที่ 1 กรณีผู้ประกันตนที่มีการบันทึกอนุมัติให้ได้สิทธิก่อนวันที่ 15 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งมีระยะเวลาตัดจ่ายย้อนหลัง 1 เดือน จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร

กลุ่มที่ 2 กรณีผู้ประกันตนที่มีการบันทึกอนุมัติให้ได้สิทธิตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งมีระยะเวลาตัดจ่ายย้อนหลัง 3 เดือน จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร

ดังนั้น หากภายในวันที่ 31 มกราคม 2562 คุณพ่อคุณแม่ผู้ประกันตนยังไม่ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรย้อนหลัง แนะนำให้รีบติดต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ เพื่อขอรับเงินสงเคราะห์บุตรย้อนหลัง หรือโทร. ตรวจสอบสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตรย้อนหลังได้ที่ 1506

ทั้งนี้ นอกจากคุณแม่คุณพ่อผู้ประกันตนจะได้สิทธิประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคมมาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายสำหรับการมีบุตรแล้ว สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ยังมีรายได้ที่ต้องเสียภาษี แนะนำว่าอย่าลืมนำค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตรหลังหักสิทธิประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคมและสวัสดิการอื่นๆ ในส่วนที่ยังไม่เกิน 60,000 บาท และค่าลดหย่อนบุตรตามเกณฑ์ของกรมสรรพากรมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่มด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้จะสามารถใช้สิทธิประโยชน์จากประกันสังคมและสิทธิลดหย่อนภาษีได้ แต่การมีสมาชิกเพิ่มขึ้นมาในครอบครัวจะมีค่าใช้จ่ายที่มากพอสมควรในการเลี้ยงดูบุตรให้เติบโต ซึ่งไม่ใช่เรื่องเล็กๆ จึงควรเตรียมความพร้อมด้วยการวางแผนทางการเงิน

หากเป็นค่าใช้จ่ายระยะสั้นเมื่อเริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งทำคลอด และค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรช่วงแรกเกิดถึงอายุ 2 ขวบ แนะนำคุณพ่อคุณแม่วางแผนเก็บสะสมในรูปกองทุนตลาดเงิน หรือกองทุนตราสารหนี้ แต่หากเป็นการวางแผนการศึกษา ซึ่งเป็นการวางแผนทางการเงินระยะยาว มีวิธีการลงทุนหรือออมหลากหลายที่จะช่วยสร้างความมั่นคงด้านชีวิตและทางการเงินไปพร้อมกัน เช่น การลงทุนในกองทุนรวมผสม หรือการทำประกันชีวิตแบบจ่ายแล้วได้รับเงินคืนระหว่างสัญญา ครบกำหนดรับเงินคืนเป็นก้อนไว้สำหรับเป็นเงินทุนสนับสนุนการศึกษาของลูกในอนาคต เป็นต้น

Share.