Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

นอกจากความสนุกครบรสแล้ว ละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส ยังสอดแทรกเกร็ดความรู้ด้านประวัติศาสตร์ไทยไว้ในเนื้อหาด้วย ไหนๆจะอินละครแล้ว ก็ต้องอินให้ถึงที่สุด รู้ลึกรู้จริงกันไปเลยค่ะ คราวนี้ GangBeauty จะพาคุณๆไปสืบประวัติที่แท้จริงของแม่หญิงการะเกดกันว่า เธอเป็นลูกเต้าเหล่าใคร ฐานันดรสูงส่งแค่ไหนกันแน่ แต่บอกก่อนเลยว่าไม่ใช่แค่ลูกขุนนางบ้านนอก อย่างที่ใครเขาดูหมิ่นดูแคลนหรอกนะคะ โดยข้อมูลที่จะมาไขความกระจ่างครั้งนี้ มาจาก เฟซบุ๊คแฟนเพจ ประวัติศาสตร์ฮาเฮ ซึ่งผู้เขียนได้อธิบายไว้ดังนี้

ในละคร บุพเพสันนิวาส ได้บอกว่าแม่หญิงการะเกดเป็น “ลูกสาวของพระยารามณรงค์ ผู้เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก” นั้นไม่นับว่าถูกต้องครับ เพราะตำแหน่งพระยารามณรงค์นั้นเป็นตำแหน่งเจ้าเมืองกำแพงเพชรต่างหาก ดังมีปรากฏในทำเนียบขุนนางว่า “ออกญารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิรียภาหะ” ถือว่าเป็นขุนนางครองเมืองชั้นโทมีศักดินา ๑๐,๐๐๐ หากแต่ตำแหน่งเจ้าเมืองพิษณุโลกที่ถูกต้องนั้นคือ “เจ้าพระยาสุรสีห์” ต่างหากครับ

สำหรับตำแหน่งเจ้าพระยาสุรสีห์นั้นถือว่าเป็น ๑ ใน ๒ ของ “เจ้าพระยามหานคร” ของกรุงศรีอยุทธยาร่วมกับ “เจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช” เจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชและหัวเมืองปักษ์ใต้ทั้งปวง โดยนามของเจ้าพระยาสุรสีห์มีปรากฏในทำเนียบขุนนางว่า “เจ้าพระยาสุรศรีพิศมาธิราชชาติพัทยาธิเบศวรธิบดีอภัยรีพิรียบรากรมภาหุ” ซึ่งความสำคัญของตำแหน่งเจ้าพระยามหานครนั้นถือว่าเป็นเจ้าผู้ครองแคว้นที่มีอำนาจปกครองเมืองในอาณัติของตนเองอีกหลายเมือง และในกรณีของเจ้าพระยาสุรสีห์นั้นมีอำนาจในการปกครองหัวเมืองทั้งเจ็ดที่เป็นดินแดนของอาณาจักรสุโขทัยมาแต่เดิมคือเมืองพระพิษณุโลก สุโขทัย สวรรคโลก พิชัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และพระบาง (นครสวรรค์) นั่นเอง

สำหรับความเป็นมาของตำแหน่งเจ้าพระยาสุรสีห์นั้นได้เริ่มขึ้นเมื่อสมเด็จพระนเรศฯทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดีในมหาสงครามยุทธหัตถีเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๕ แล้ว พระองค์จึงได้โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง “ออกพระไชยบุรี” หรือ “พระชัยบูรณ์” เจ้าเมืองไชยาบาดาล (ทุกวันนี้คือ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี) หนึ่งในขุนศึกคนสำคัญของพระองค์ขึ้นรั้งตำแหน่งเจ้าพระยาสุรสีห์เป็นคนแรกในปี พ.ศ. ๒๑๓๖ และเนื่องจากหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้ง ๗ แห่งนี้มีพรมแดนติดกับอาณาจักรล้านนาและล้านช้าง กอปรกับสถานการณ์บ้านเมืองในเวลานั้นยังไม่สู้สงบราบคาบดีนัก จึงทำให้สถานะแห่งอำนาจของเจ้าพระยาสุรสีห์มีอำนาจทางการเมืองและการทหารอย่างสูงยิ่ง ดังปรากฏว่าในปี พ.ศ. ๒๑๔๐ – ๒๑๔๑ นั้น เกิดเหตุพระเจ้าหน่อแก้ว กษัตริย์ล้านช้างยกทัพเตรียมเข้าตีแคว้นล้านนา เจ้าพระยาสุรสีห์จึงได้ยกทัพ ๓,๐๐๐ เข้าไประงับเหตุจนทำให้ทัพล้านช้างยอมถอยทัพกลับไปแต่โดยดีในที่สุด อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าเจ้าพระยาสุรสีห์เป็นขุนศึกและเจ้าผู้ครองแคว้นที่ทรงอำนาจที่สุดในอาณาจักรไปโดยปริยาย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโดยตำแหน่งและความสำคัญตามลำดับขุนนางในราชสำนักของเจ้าพระยาสุรสีห์จะถือว่าเป็นรองแต่ ๒ อัครมหาเสนาบดีคือ “เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์” ผู้ครองตำแหน่งเสนาบดีสมุหนายก และ “เจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดี” ผู้ครองตำแหน่งเสนาบดีสมุหกลาโหมเท่านั้น แต่ด้วยอำนาจการปกครองหัวเมืองเอกเช่นนี้ก็ทำให้เจ้าพระยาสุรสีห์แทบจะมีอำนาจแทบจะเทียบเท่ากับกษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งเลยก็ว่าได้

กระนั้น โปรดอย่าได้เข้าใจผิดว่าผมกำลังจะสื่อว่าแม่หญิงการะเกดจะเป็นเชื้อสายของเจ้าพระยาสุรสีห์คนแรกหรืออดีตพระไชยบุรีไปเชียวล่ะครับ เพราะว่าตำแหน่งเจ้าผู้ครองแคว้นหรือเจ้าพระยามหานครจะต้องมาจากการแต่งตั้งของราชสำนักโดยตรงเท่านั้น หาได้สืบทอดตำแหน่งบรรดาศักดิ์ตามสายเลือดเช่นการสืบสันตติวงศ์แต่อย่างใด

เพราะฉะนั้น หากกล่าวโดยสรุปแล้ว สถานะของเมืองพระพิษณุโลกจึงถือว่าเป็นเมืองชั้นเอกที่มีศักดิ์รองลงมาจากพระนครศรีอยุทธยาเท่านั้นล่ะครับ และเนื่องจากห้วงเวลาในนวนิยาย/ละครเรื่องบุพเพสันนิวาสอิงเหตุการณ์ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ฯด้วยแล้ว สถานะของเมืองพระพิษณุโลกในห้วงเวลานั้นก็กลับมามีความสำคัญทางการทหารด้วยอีกครั้งหนึ่งเช่นกัน เพราะกรุงศรีอยุทธยาได้ประกาศสงครามกับอาณาจักรล้านนาในปี พ.ศ. ๒๒๐๔ และ ๒๒๐๕ จึงทำให้เมืองพระพิษณุโลกได้กลายเป็นฐานกำลังสำคัญของกรุงศรีอยุทธยาในการทำศึกกับอาณาจักรล้านนานั้นเอง ซึ่งถ้าหากเราอ้างอิงตามห้วงเวลาในนวนิยายแล้ว แม่หญิงการะเกดน่าจะเกิดหลังสงครามเชียงใหม่ไปแล้ว ๔ – ๕ ปี แต่พ่อของแม่หญิงการะเกดเองคงจะเป็นหนึ่งในขุนศึกที่เคยตามทัพหลวงไปรบศึกเชียงใหม่ทั้งสองครั้งอย่างแน่นอน และอาจจะดำรงตำแหน่งหรือได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์จากความชอบในสงครามเชียงใหม่แล้วก็เป็นได้

พูดง่ายๆให้เห็นภาพ หากจะเทียบฐานะของแม่หญิงการะเกดกับคนในยุคปัจจุบัน เธอก็มีศักดิ์พอๆกับ ลูกสาวของแม่ทัพภาคที่ ๓ เลยก็ว่าได้ เพราะ เจ้าพระยามหานคร พ่อของเธอมีอำนาจครอบคลุมเขตภาคเหนือ ดั่งนั้นจะมาดูหมิ่นดูแคลนไม่ได้นะคะ ฐานันดรไม่ได้น้อยหน้าแม่หญิงจันทร์วาดเลย ไม่ใช่แค่สวยแต่รู้ไว้ด้วยว่าลูกใคร

www.ch3thailand.com

Share.