เคยสงสัยกันมั้ยว่า.. ค่าปรับจราจรที่เราเคยเสียๆ กันไปครั้งละ 300 , 500 หรือบางทีก็มากกว่านั้นแล้วแต่ฐานความผิด พอเราจ่ายแล้วเงินมันไปตกอยู่ที่ใคร? เข้ารัฐบาลเต็มๆ เลยหรือไม่? จริงๆ แล้วใครกันแน่ที่ได้ส่วนนี้ไป

วันนี้ Gang Beauty พร้อมจะมาหาคำตอบเพื่อไขข้อสงสัยของใครหลายคนให้กระจ่าง และเพื่ออธิบายให้เห็นเข้าใจตรงกันอย่างชัดเจน เราไปดูภาพกราฟิกนี้พร้อมๆ กันเลย..

จากภาพกราฟฟิก แสดงถึงเส้นทางของเงินค่าปรับจราจรว่าไปที่ไหน อย่างไรบ้าง

โดยขั้นตอนแรก แบ่งเงินค่าปรับออกเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 50% ส่วนแรกจะนำส่งให้กรุงเทพมหานคร หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนที่เหลืออีก 45% จะนำมาจัดสรรเป็นเงินรางวัลแก่ผู้จับกุม และผู้สนับสนุนงานจราจร และอีก 5% จะเป็นรายได้เข้าแผ่นดิน

คราวนี้ก็เลิกสงสัยกันได้สักที ว่าเงินที่จ่ายไปไม่ว่าจะเป็นความผิดฐาน ไม่สวมหมวกนิรภัย , จอดรถในที่ห้ามจอด , ขับขี่จักรยานยนต์บนทางเท้า , ขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนด ล้วนแล้วแต่มีการจัดสรรปันส่วนเงินในรูปแบบนี้ทั้งสิ้น

อัตราค่าปรับจราจรที่ควรรู้

ใช้โทรศัพท์ระหว่างขับรถ
ปรับ 400-1,000 บาท

ขับรถบนทางเท้า
ปรับ 400-1,000 บาท

หยุดรถบนทางเท้า
ปรับ 500 บาท

หยุดรถล้ำเส้นหยุด
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

แซงในเส้นทึบ
ปรับ 400-1,000 บาท

ขับรถย้อนศร
ปรับไม่เกิน 500 บาท

หยุดรถขวางทางแยก
ปรับไม่เกิน 500 บาท

จอดรถในที่ห้ามจอด
ปรับไม่เกิน 500 บาท

ขับขี่รถจักรยานยนต์
โดยไม่สวมหมวกนิรภัย
ปรับไม่เกิน 500 บาท

ฝ่าสัญญาณไฟแดง
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

จอดรถกีดขวางการจราจร
ปรับไม่เกิน 500 บาท

ท่อแต่งเสียงดัง
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ใช้ป้ายแดงเกิน 1 เดือนหรือ
วิ่งระยะทางเกิน 3,000 กม. โดยใช้ป้ายแดง
ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน / วางไว้ที่กระจก
ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ติดไฟนีออนใต้ท้องรถ ติดไว้กับป้ายทะเบียน
ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

แผ่นป้ายทะเบียนปลอม
มีความผิดทางอาญา ฟ้องศาล!!

Share.