Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.


พฤติกรรมชอบกัดเล็บตัวเองอย่างจริงจัง เกิดจากอะไร มีนิสัยกัดเล็บตัวเองตอนเผลอๆ ถือว่าป่วยจิตไหม รักษาได้หรือเปล่า ?

เราอาจไม่รู้ตัวว่าเป็นคนชอบกัดเล็บตัวเอง แต่มาสังเกตเห็นว่าสภาพเล็บมือเราดูไม่จืดเท่าไร ประกอบกับเริ่มมีคนทักว่าเราชอบกัดเล็บเล่นตอนเหม่อๆ เผลอๆ เรื่องนี้จิตวิทยามีคำตอบนะคะว่าพฤติกรรมชอบกัดเล็บตัวเองเกิดจากอะไร เข้าข่ายโรคจิตเวชอะไรหรือเปล่า แล้วมีวิธีแก้นิสัยชอบกัดเล็บตัวเองไหม ลองมาดูกัน

พฤติกรรมชอบกัดเล็บ เกิดจากอะไร

นิสัยชอบกัดเล็บมักเกิดในวัยเด็กที่มีอาการมันเขี้ยว ชอบกัดทุกอย่างแม้กระทั่งเล็บมือ-เล็บเท้าของตัวเอง ทว่าหากนิสัยชอบกัดเล็บเกิดในวัยผู้ใหญ่ ทางจิตวิทยาจะถือพฤติกรรมกัดเล็บเป็นการแสดงออกถึงความวิตกกังวล ความเครียด ความเบื่อหน่าย หรือมีความรู้สึกไม่มั่นคงทางจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่

ทั้งนี้ในกรณีที่กัดเล็บตัวเองอย่างจริงจัง ห้ามตัวเองไม่ได้ และมีพฤติกรรมกัดเล็บจนก่อให้เกิดแผลที่เล็บ มีเลือดออก แบบนี้ทางจิตวิทยาอาจบ่งชี้ถึงภาวะของโรควิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือโรคกัดเล็บ (Onychophagia) หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า ภาวะโรค Nail Biting ได้ด้วยนะคะ

– 8 โรควิตกกังวลที่คนป่วยกันบ่อยในสังคมปัจจุบัน

– โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการชอบคิด-ทำซ้ำๆ เอ๊ะ…ลืมทำไปหรือเปล่านะ ?


นิสัยชอบกัดเล็บ เกิดกับใครได้บ้าง

เรามักจะเห็นพฤติกรรมชอบกัดเล็บในวัยเด็ก ทว่านิสัยชอบกัดเล็บในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ก็พบได้บ่อยด้วยเช่นกัน โดยจะพบนิสัยชอบกัดเล็บในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอาจพบพฤติกรรมชอบกัดเล็บในกลุ่มคนเสพติดความสมบูณ์แบบ หรือที่เรียกกันว่าเพอร์เฟกชั่นนิสต์ด้วยล่ะ นั่นก็เพราะว่า คนกลุ่มนี้จะมีความกดดันในตัวเองสูง และอาจเผลอแสดงความเครียดด้วยอาการทางกาย เช่น กัดเล็บตัวเอง ดึงผม กระดิกเท้า เคาะมือกับโต๊ะ เป็นต้น

– โรคดึงผมตัวเอง รักษาอย่างไร…อาการทางจิตเวชที่หลายคนเป็นไม่รู้ตัว !

กัดเล็บตัวเอง อาการแบบไหนเข้าข่ายป่วย

การกัดเล็บตัวเองเป็นพฤติกรรมยามเผลอของใครหลายคน ซึ่งทางจิตวิทยาแล้วก็นับว่าพฤติกรรมกัดเล็บตัวเองเป็นการแสดงความรู้สึกในทางลบชนิดหนึ่ง โดยบางคนอาจมีนิสัยชอบกัดเล็บเนื่องจากความเคยชินมาตั้งแต่วัยเด็ก หรือชอบกัดเล็บตัวเองเล่นๆ แก้เครียดในบางครั้ง แต่สำหรับโรคกัดเล็บแล้ว รวมไปถึงกลุ่มอาการทางจิตเวชอย่างโรควิตกกังวลและโรคย้ำคิดย้ำทำ ผู้ป่วยมักจะแสดงอาการดังต่อไปนี้

– กัดเล็บในขณะที่ตัวเองเหม่อลอย ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวว่ากำลังกัดเล็บตัวเองอยู่

– กัดเล็บจนเล็บผิดรูปหรือเป็นแผลที่เล็บ

– รู้สึกอายเล็บตัวเอง พยายามจะหลบเลี่ยงไม่ให้ใครเห็นเล็บมือของตัวเอง

– อาจมีอาการแสดงอื่นๆ ร่วมกับการกัดเล็บ เช่น ดึงผม แคะ แกะ เกาผิวหนัง กัดริมฝีปาก หรือเขย่าขาร่วมด้วย

อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมกัดเล็บจะรุนแรงแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคทางจิตเวชที่เป็นอยู่ด้วย ดังนั้นหากพบว่าตัวเองมีอาการกัดเล็บจนก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพทางกาย หรือทางจิตใจต่อตัวเอง ก็ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย ประเมินอาการ และรักษาต่อไป


ชอบกัดเล็บตัวเอง ทำไงดี

วิธีแก้นิสัยกัดเล็บตัวเอง เราสามารถเริ่มต้นปรับพฤติกรรมตัวเองง่ายๆ ตามนี้

1. พยายามตัดเล็บให้สั้นเข้าไว้

2. ตกแต่งเล็บให้สวยงาม หากเป็นผู้หญิงจะทาสีเล็บสวยๆ ก็ได้

3. เคลือบเล็บด้วยรสเผ็ดหรือรสขมจากผักหรือสมุนไพร

4. สวมถุงมือ

5. หันเหความสนใจไปกับเรื่องอื่น

6. ปรับพฤติกรรมกับจิตแพทย์

ทั้งนี้หากอาการชอบกัดเล็บที่เป็นอยู่สัมพันธ์กับโรคทางจิตเวชโรคใดโรคหนึ่ง เคสนี้แนะนำให้ไปรักษากับจิพแพทย์โดยตรงจะดีกว่านะคะ โดยจิตแพทย์อาจเลือกวิธีรักษาแบบพฤติกรรมบำบัด หรืออาจให้ยากลุ่มต้านเศร้า ยาคลายกังวลเพื่อช่วยรักษาพฤติกรรมกัดเล็บด้วยอีกทาง

กัดเล็บบ่อยๆ เสี่ยงโรคด้วยนะ !

นอกจากการกัดเล็บจะเป็นต้นเหตุให้เล็บของคุณไม่เรียบสวยแล้ว เชื้อโรคและแบคทีเรียจากช่องปากและที่ติดอยู่รอบๆ บริเวณเล็บ ยังจะมีโอกาสแลกเปลี่ยนที่อยู่กันอย่างเมามัน กลายเป็นปัญหาสุขภาพอย่างเชื้อราที่เล็บ รวมทั้งปัญหาช่องปากและลำคออักเสบจากการติดเชื้อ หรือหากกัดเล็บจนเป็นแผลใหญ่เรื้อรังไปเรื่อยๆ อาจทำให้เนื้อบริเวณนิ้วอักเสบติดเชื้อ แผลเน่า จนต้องตัดนิ้วทิ้งก็เป็นได้

ฉะนั้นพยายามมีสติอยู่กับตัวเองตลอดเวลา และเมื่อรู้ตัวว่ากำลังกัดเล็บตัวเองเมื่อไรก็ให้รีบหยุด หรือหากยังแก้นิสัยชอบกัดเล็บไม่ได้ พบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาหาทางออกเลยจะดีกว่านะคะ

Share.