Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

ว่ากันว่าคนเรามีวิธีเอาตัวรอดที่ไม่เหมือนกันทุกคน แล้วความคิดเห็นที่แตกต่างก็ถือเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์โลกไปเสียแล้ว แต่จะดีกว่าไหม ถ้ามีวิธีที่จะไม่ทำให้คุณไม่ต้องไปไฝว์กับใครที่คุณไม่เห็นด้วย และนี่ก็คือ 5 ข้อพึงกระทำ เมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดคนอื่น?

1. รับฟังอย่างใจเย็นเข้าไว้

เมื่อคุณได้ยินคำพูดมากมายเหล่านั้นจากอีกฝ่าย และคำพูดเหล่านั้นอาจกำลังทำให้คุณไม่พอใจเนื่องจากคุณคิดว่าสิ่งที่อีกฝ่ายพูดมาเป็นความคิดที่ผิดอย่างมหันต์ แตกต่างจากที่คุณรับรู้และเข้าใจมาโดยสิ้นเชิง เมื่อรู้แบบนี้สิ่งที่คุณพึงกระทำนั้นก็ไม่ใช่การโต้เถียง หรือออกความคิดเห็นในมุมของตัวเองในทันที ซึ่งแน่นอนการทำแบบที่ว่าอาจขัดแย้งเอาได้ง่ายๆ แต่สิ่งที่คุณทำคือควรใจเย็นและใช้สติให้มากที่สุด  รับฟังจนกว่าอีกฝ่ายจะพูดจบ หากใช้ความใจเย็นในวินาทีนั้นได้ การปะทะอาจไม่เกิด ระหว่างนี้สมองของคุณอาจตีกันเองเพราะไม่เห็นด้วยแต่ความใจเย็นจะบรรเทาให้คุณคิดช้าลงได้ในตอนนั้น

2. ตรองดูว่าที่อีกฝ่ายพูดอยู่? มันใช่สาระสำคัญในชีวิตคุณหรือเปล่าล่ะ!?

หลังจากฟังอยู่นานสองนาน ก็ลองไตร่ตรองก่อนว่า เรื่องที่อีกฝ่ายพูดนั้นส่งผลลบ หรือกระทบต่อคุณหรือไม่ หากไม่ส่งผลลบต่อใครหรือเป็นเรื่องเล่นๆ ประเด็นขี้ปะติ๋วก็ปล่อยผ่านไปเถอะนะ เพราะถ้าจะมัวแต่คิดว่าทุกเรื่องที่ได้ยินนั้น เป็นสิ่งที่ต้องเคลียร์ให้กระจ่างทั้งหมดก็คงไม่ส่งผลดี  แน่นอนถ้าคุณตัดความรำคาญในเรื่องที่ไม่ใช่สาระสำคัญออกไปได้ คุณก็จะมีความสุขใจสงบและไม่ต้องเข้าไปไฝว้!! เพื่อแจงความจริงในเรื่องที่ไม่ใช่ทำลายภาพลักษณ์ของคุณหรือใครทั้งนั้น

3. มองเป็นกลางก่อนดีกว่า

ไม่มีใครสามารถตัดสินใครได้หรอกค่ะ ว่าเรื่องเหล่านั้นใครพูดได้ถูกต้องที่สุด เพราะทุกๆ ฝ่ายล้วนมีวิธีคิดที่ต่างกันออกไป คนที่สนิทกับคุณมากที่สุดยังคิดไม่ตรงกับคุณได้เลย แล้วนับประสาอะไรกับคนอื่น เหตุผลนี้แหละที่ควรเอาใจเป็นกลางเพื่อลดความขัดแย้ง  พยายามอย่าคิดไปเองว่าสิ่งที่คนอื่นพูดนั้นเป็นสิ่งไม่ดี ให้มองเป็นกลางเข้าไว้ลดทิฐิลงได้จะยิ่งดีมาก ดังนั้นจึงควรวางความคิดให้เป็นกลางมากที่สุด

4. ลองถามเหตุผลที่คุณไม่เห็นตรงกับเขาดู

หากอีกฝ่ายยิ่งเข้าประเด็นไม่น่ารักมากขึ้นเรื่อยๆ ให้คุณถามถึงเหตุผล(อย่างใจเย็น?) สิ่งสำคัญในการถามคำถามในขณะที่คุณไม่เห็นด้วยจนอยากปะทะ คือคุณควรใช้น้ำเสียงที่สุภาพและสงบแต่ไม่แข็งกร้าว แววตาและสีหน้าก็เป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญ ที่จะส่งผ่านให้อีกฝ่ายจะรับรู้ว่าคุณถามเพราะอยากรู้หรือไม่เห็นด้วยกันแน่ ซึ่งแน่นอนคุณไม่ควรแสดงออกถึงความไม่พอใจออกมา เพราะไม่อย่างนั้นคำตอบที่ได้อาจเป็นการประชด มากกว่าจะได้ความคิดเห็นที่แท้จริงจากคนตอบนะคะ

5. สุดท้ายก็ถึงเวลาที่ต้องแสดงความคิดเห็นบ้างล่ะ

การที่ไม่เห็นด้วยกับใครก็ไม่ได้แปลว่าคุณต้องเงียบ และไม่ควรแสดงความคิดของคุณหรอกนะคะ เมื่อถึงเวลาที่ต้องแสดงความคิดเห็น แม้จะต่างกันแค่ไหนก็ควรพูดเพื่อแสดงจุดยืนออกไป ไม่อย่างนั้นอีกฝ่ายอาจคิดว่าคุณโอเค หรือคุณคิดเหมือนกัน บางทีอาจจะยิ่งไปกันใหญ่กลายเป็นถูกเข้าใจผิด  แต่บอกก่อนว่านี่เป็นจุดเสี่ยงเหมือนกันนะ เพราะเหมือนเป็นการประกาศว่าทั้งหมดที่คุณฟังเขามา คุณไม่ได้คล้อยตามหรือเห็นด้วย แต่มันแสดงว่าคุณกำลังคิดต่างมากน้อยเพียงใด? ซึ่งการแสดงความคิดเห็นจากปากคุณต้องไม่มีการพาดพิงใครทั้งสิ้น ไม่อย่างนั้นทั้งหมดที่คุณอดทนเป็นกลางมา ถือว่าจบเห่แน่นอน! ให้คุณอธิบายความคิดเห็นให้คู่สนทนาฟังรวมถึงเหตุผลด้วย

ต้องบอกก่อนว่าอย่าได้คาดหวังว่าอีกฝ่ายจะเปลี่ยนมาคิดเหมือนกับคุณนะ เพราะอย่างที่บอกว่าคุณแค่แสดงจุดยืนที่คุณมีให้คู่สนทนาฟัง ไม่ใช่เพื่อต้องการโน้มน้าวหรือให้ใครเปลี่ยนทัศนคติตอนนั้นตามคุณนะคะ

Share.