Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

วันนั้นของเดือนเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายของผู้หญิงเราอ่อนแอกว่าปกติ ยิ่งไปกว่านั้นถ้าหากเป็นไข้ไม่สบายในช่วงมีประจำเดือน ต้องระมัดระวังเรื่องอาหารการกินให้ดี เพราะอาหารบางประเภทอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างคาดไม่ถึง

1.ไอศครีมและหวานเย็น

ขนมหวานที่แสนอร่อยเหล่านี้มีความเย็นจัด เมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง ทำให้เสียสมดุลส่งผลให้อาการป่วยทรุดหนักลง

2.ผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น

สับปะรดและแตงโมมีฤทธิ์เย็น ไม่ควรรับประทานในช่วงที่มีประจำเดือน การรับประทานมากเกินไปจะทำให้ประจำเดือนมามากขึ้น ส่งผลให้อาการป่วยหายช้าลงอีกด้วย

3.แอลกอฮอล์

แม้ว่าแอลกอฮอล์อาจช่วยระงับอาการปวดประจำเดือนได้ แต่ก็ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติและยังเพิ่มระดับฮอโมนเอสโตรเจนให้เพิ่มขึ้นด้วยทำให้อาการปวดประจำเดือนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้แอลกอฮอล์จะทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายลดลง ทำให้อาการป่วยหายช้าลงไปอีก

4.เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

ชา กาแฟและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน จะทำให้ความดันเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ประจำเดือนมามากกว่าปกติ ในช่วงที่มีอาการควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทนี้จะดีกว่า

5.อาหารสำเร็จรูป

อาหารแช่แข็ง ฟาสต์ฟู้ด เบค่อน ของหมักดอง มีส่วนผสมของวัตถุกันเสียและสารเคมีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สิ่งเหล่านี้จะรบกวนการทำงานของระบบฮอร์โมนให้ทำงานผิดปกติ ในช่วงเวลานี้ควรหลีกเลี่ยงไปรับประทานอาหารทำเองที่บ้าน โดยเน้นผักสดผลไม้สดที่มีวิตามินและเกลือแร่ เพื่อช่วยรักษาอาการเจ็บให้หายเร็วยิ่งขึ้น

6.อาหารทอด

อาหารทอดและขนมกรุบกรอบทั้งหลาย เต็มไปด้วยไขมันทรานส์หรือน้ำมันพืชเติมไฮโดรเจน ซึ่งไปเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้อารมณ์แปรปรวนและทำให้เกิดอาการไม่สบายตัวมากยิ่งขึ้น

7.ผลิตภัณฑ์จากนม

น้ำนม ครีม และชีสเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวอะราคิโดนิกสูงซึ่งกระตุ้นให้ปวดประจำเดือนมากขึ้น ในขณะมีประจำเดือนสามารถเลี่ยงไปดื่มนมอัลมอนด์ หรือบัตเตอร์มิลค์แทนได้ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

8.อาหารที่มีโซเดียมสูง

โซเดียมอยู่ในรูปของเกลือแกง หรือแม้แต่ผงชูรสก็มีโซเดียมสูงเช่นกัน การบริโภคอาหารประเภทนี้เป็นประจำจะส่งผลให้การควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกายผิดปกติ รวมถึงประจำเดือนไม่ปกติเพราะระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ร่างกายกักเก็บน้ำมากเกินไปทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ไม่สบายตัวมากขึ้น

ในช่วงเวลาที่มีประจำเดือน ควรให้ความใส่ใจในการดูแลสุขภาพร่างกายเป็นพิเศษ นอกจากหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารต้องห้ามแล้ว ก็ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้งห้าหมู่และพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยให้หายเร็วขึ้น

Share.