Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

คนท้องกินยาพาราได้ไหม เป็นคำถามคาใจที่คุณแม่ตั้งครรภ์อยากรู้และสงสัย ถ้าหากไม่สบาย ปวดหัว มีไข้ขึ้นมา คนท้องสามารถกินยาพาราได้ไหม มีอันตรายต่อลูกในครรภ์หรือเปล่า และกินอย่างไรจึงจะปลอดภัยที่สุด เรามาไขข้อข้องใจกันเลยค่ะ

คนท้องกินยาพาราได้ไหม เพราะอาการปวดต่างๆ หรือมีไข้นั้น อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าคนท้องนั้นต้องดูแลเรื่องอาหารการกินและการใช้ยาเป็นพิเศษ คุณแม่หลายๆ ท่านก็คงกังวลเหมือนกันใช่ไหมคะ ว่าสามารถกินยาพาราตอนท้องได้หรือไม่ ยาพาราจะมีอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างไร การจะใช้ยาแต่ละครั้งจึงต้องคิดแล้วคิดอีก ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับยาพาราเซตามอล  พร้อมวิธีกินยาพาราอย่างปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อตัวเองและลูกน้อยกันเลยค่ะ

รู้จักยาพาราเซตามอล

พาราเซตามอล เป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และมักจะมีติดไว้เป็นยาสามัญประจำบ้าน เพราะหาซื้อได้ง่าย ค่อนข้างปลอดภัยเมื่อใช้อย่างถูกวิธี มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดจากสาเหตุต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดจากข้อเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ และใช้เป็นยาลดไข้ แต่ยาพาราเซตามอลที่เป็นยาเดี่ยวจะบรรเทาอาการปวดขั้นอ่อนถึงปานกลางเท่านั้น ไม่มีผลต่ออาการปวดขั้นรุนแรง เช่น แผลผ่าตัดใหญ่ หรือมะเร็ง และไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ

คนท้องกินยาพาราได้ไหม กินอย่างไรให้ปลอดภัย ?

ยาพาราเซตามอลมีหลายรูปแบบ ทั้งชนิดน้ำและชนิดเม็ด ที่นิยมกินคือยาเม็ดที่มีตัวยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด  โดยทั่วไปในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัมขึ้นไป กินได้ครั้งละไม่เกิน 2 เม็ด (1,000 มิลลิกรัม) และวันละไม่เกิน 8 เม็ด (4,000 มิลลิกรัม) นอกจากนี้ควรเว้นระยะห่างของมื้อยาอย่างน้อย 4 ชั่วโมง และไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเกิน 5 วัน หากจำเป็นต้องใช้นานกว่านี้ควรปรึกษาแพทย์

สำหรับคนท้อง สามารถใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้และแก้ปวดได้ค่ะ โดยใช้เกณฑ์เดียวกันเพื่อความปลอดภัย ได้แก่

– กินครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 6-8 ชั่วโมง หากกินเกินขนาด อาจทำให้เกิดพิษต่อตับ

– ไม่ควรกินยาพาราเซตามอลติดต่อกันนานเกิน 5 วัน

– ยาพาราเซตามอลมีข้อดีคือไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร จึงสามารถกินพร้อมอาหารหรือขณะท้องว่างได้

– ห้ามกินยาพาราเซตามอลร่วมกับแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะตับล้มเหลว

– ควรได้รับการยืนยันใช้ยาพาราเซตามอลจากแพทย์ที่ดูแลครรภ์ก่อนเท่านั้น ว่าสามารถใช้ยาได้มากน้อยแค่ไหน หรือไม่ควรใช้ขณะตั้งครรภ์

ยาพาราเซตามอล กินมากไปขณะตั้งครรภ์ เสี่ยงลูกสมาธิสั้น !

แม้ว่าคุณแม่ตั้งครรภ์จะสามารถใช้ยาพาราตามข้อแนะนำเบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการปวดหรือเป็นไข้ได้ แต่ก็อย่าเพิ่งคิดว่าการกินยาพาราเซตามอลเป็นเรื่องง่ายๆ ที่สามารถทำได้เหมือนคนทั่วไปนะคะ เพราะที่จริงแล้ว คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทุกประเภท โดยเฉพาะในระหว่าง 8-10 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เพราะเป็นช่วงที่สมอง ปอด และหัวใจของลูกในท้องกำลังพัฒนา การใช้ยาบางชนิดอาจทำให้อวัยวะของเด็กพัฒนาผิดปกติได้ด้วย

นอกจากนี้ งานวิจัยของ Oxford University Press ตีพิมพ์ใน International Journal of Epidemiology ยังค้นพบว่า คนท้องที่ได้รับยาพาราเซตามอลมากเกินไปขณะตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงที่ลูกในครรภ์จะเกิดปัญหาสมาธิสั้น และออทิสติกมากกว่าเด็กที่ไม่ได้รับยาขณะที่แม่ตั้งครรภ์ถึง 30% สอดคล้องกับทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกแลนด์ ในนิวซีแลนด์ ที่ค้นคว้าข้อมูลเด็กทารกในภูมิภาคยุโรป จำนวน 871 คน โดยเปรียบเทียบการใช้ยาของคุณแม่ระหว่างตั้งท้อง ผลปรากฏว่าเกือบครึ่งของลูกๆ ที่คุณแม่ที่ใช้ยาพาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ มีพฤติกรรมเข้าข่ายโรคสมาธิสั้น

คนท้องห้ามกินยาแก้ปวดชนิดไหน ?

ยาแก้ปวด ลดไข้ เช่น แอสไพริน (Aspirin), ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen)

ถ้าคุณแม่กินในช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงการแท้งบุตรได้ถึง 5-6 เท่า อาจส่งผลรบกวนการแข็งตัวของเลือดและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในขณะตั้งครรภ์ ถ้ากินตอนใกล้คลอดอาจไปยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดของทารกในครรภ์ ทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้ นอกจากนี้ยาแอสไพรินยังมีผลทำให้คุณแม่คลอดเกินกำหนดและคลอดยากขึ้นอีกด้วย

เออร์โกตามีน (Ergotamine)

ถ้าคุณแม่เคยมีอาการปวดไมเกรนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์อยู่ ควรหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดศีรษะในกลุ่มเออร์โกตามีน เพราะยาในกลุ่มนี้จะทำให้มดลูกบีบตัว อาจทำให้แท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนดได้

ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)

ถ้าคุณแม่กินเข้าไปในช่วงเริ่มตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรเป็น 5-6 เท่า และหากใช้ติดต่อกันนานเกิน 1 สัปดาห์ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 เท่า

นาโพรเซน (Naproxen)

เป็นยาเม็ดบรรเทาปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีผลทำให้เกิดการยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดเช่นเดียวกับยาแอสไพริน

ไขข้อข้องใจกันไปแล้วนะคะ ว่าคนท้องสามารถกินยาพาราได้ในปริมาณที่เหมาะสมและกินอย่างถูกวิธี แต่ทางที่ดี คุณแม่ควรใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาด้วยตัวเอง ควรอ่านเอกสารกำกับยาให้ชัดเจนก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่และลูกน้อยค่ะ

Share.