Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

ผู้ชายเบิกประกันสังคมคลอดบุตร มีหลักเกณฑ์ยังไงบ้าง เบิกเงินได้เท่ากับผู้หญิงหรือเปล่า ใครอยากรู้รายละเอียด มาหาคำตอบกัน

ประกันสังคมคลอดบุตร อีกหนึ่งสิทธิประโยชน์จากทางประกันสังคมที่ช่วยเหลือคุณพ่อ-คุณแม่ เรื่องค่าใช้จ่ายคลอดบุตรและเงินช่วยเหลือในการดูแลเลี้ยงดูบุตรในแต่ละเดือน แต่หลายคนรู้ไหมว่าเงินประกันสังคมคลอดบุตรไม่ใช่แค่ผู้หญิงเท่านั้นนะที่เบิกได้ แต่ผู้ประกันตนชาย ก็มีสิทธิเช่นเดียวกัน โดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

ประกันสังคม คลอดบุตร ผู้ชายเบิกค่าอะไรได้บ้าง ?

ประกันสังคมให้สิทธิผู้ประกันตนชายที่เป็นคุณพ่อ สามารถเบิกค่าคลอดบุตรแทนภรรยาได้ ประกอบด้วย

1. ค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท/ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)

2. เงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 600 บาท โดยจะได้รับตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน

อย่างไรก็ดี ผู้ประกันตนชาย จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์หยุดงานเพื่อการคลอดบุตร จำนวน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน เหมือนกับฝ่ายหญิง

ผู้ชายเบิกประกันสังคม คลอดบุตร มีหลักเกณฑ์ยังไงบ้าง ?

ผู้ชายที่จะได้รับสิทธิเงินคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคมนั้น ต้องมีหลักเกณฑ์ตามนี้

1. ภรรยามีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย

2. เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 เท่านั้น ซึ่งจะไม่รวมผู้ประกันตนมาตรา 40

3. ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนที่ภรรยาคลอดบุตร

ส่วนกรณีที่สามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่จะสามารถใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรได้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถเบิกซ้ำซ้อนกันได้ เช่น ถ้าฝ่ายหญิงใช้สิทธิประกันสังคมคลอดบุตรคนนี้แล้ว ฝ่ายชายก็จะไม่สามารถใช้สิทธิเบิกกับบุตรคนนี้ได้

เพราะฉะนั้นถ้าใครเลือกจะให้ฝ่ายชายใช้สิทธิประกันสังคมคลอดบุตร ต้องคิดดูดีๆ ก่อนนะ เพราะจะเสียสิทธิเงินสงเคราะห์หยุดงานไป แต่ถ้าคุณแม่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน เช่น เป็นแม่บ้าน ประกอบอาชีพอิสระ แต่คุณพ่อเป็นผู้ประกันตน ก็ยังสามารถใช้สิทธิคลอดบุตรของคุณพ่อได้ โดยจะได้เงินค่าคลอด 13,000 บาทไม่ต่างกัน ทว่าจะไม่ได้เงินสงเคราะห์หยุดงานเหมือนคุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตน

วิธีเบิกเงินประกันสังคม คลอดบุตร

ให้ยื่นขอรับสิทธิประโยชน์คลอดบุตร ประกันสังคม ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ รวมถึงสำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) ในวัน-เวลาราชการ ซึ่งจะไปยื่นเองหรือให้ผู้อื่นไปยื่นแทนก็ได้

นอกจากนี้ ยังสามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ทางไปรษณีย์ก็ได้ ด้วยการส่งเอกสารไปยังที่อยู่ของสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน และจ่าหน้าซองว่า “ฝ่ายสิทธิประโยชน์”

เอกสารที่ต้องใช้ยื่นขอรับเงินคลอดบุตร มีดังนี้

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ให้ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ

2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)

3. สำเนาทะเบียนสมรส หรือหากไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส

4. ใบเสร็จรับเงินค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคลอดบุตร

5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ 11 ธนาคาร ดังนี้ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารธนชาต, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารอิสลาม, ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย, ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

โดยการยื่นเอกสารให้ผู้ประกันตนยื่นทั้งหมด 2 ชุด หากต้องการจะเบิก ทั้งเงินค่าคลอดบุตร และเงินสงเคราะห์บุตร แต่ถ้าใครต้องการรับสิทธิแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ยื่นเอกสารแค่ชุดเดียวพอ

เบิกค่าคลอดบุตร กี่วันได้เงิน ?

การจ่ายเงินคลอดบุตรนั้น ประกันสังคมจะทำการตรวจสอบข้อมูลและเอกสารของผู้ประกันตน ว่าถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือไม่ ซึ่งหากไม่มีปัญหาอะไรทางสำนักงานประกันสังคมก็จะโอนเข้าบัญชีของผู้ประกันตน ภายใน 5-7 วันทำการ นับจากวันที่เอกสารได้รับอนุมัติ

ส่วนเงินสงเคราะห์จะจ่ายเป็นรายเดือน โดยเริ่มจ่ายตั้งแต่เดือนแรกที่เด็กเกิด ไปจนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ เราสามารถตรวจสอบผลอนุมัติจ่ายเงินได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม

กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส เบิกค่าคลอดบุตรได้ไหม

สามีภรรยาอยู่กินกันโดยเปิดเผย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และภรรยาก็ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนด้วย แบบนี้ฝ่ายชายจะสามารถเบิกค่าคลอดบุตรแทนได้หรือไม่ คำตอบคือ สามารถเบิกได้ โดยให้ยื่นคำขอโดยใช้หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสแทน

จดทะเบียนสมรสกับภรรยาเดิม แต่มามีบุตรกับภรรยาใหม่ เบิกค่าคลอดบุตรได้ไหม

หากเป็นกรณีนี้ ผู้ประกันตนชายจะไม่สามารถเบิกเงินประกันสังคมคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรได้ เนื่องจากติดทะเบียนสมรสกับภรรยาคนแรกอยู่นั่นเอง

คลอดบุตรแฝด ผู้ประกันตนชายเบิกเงินประกันสังคม ได้ท่าไหร่ ?

ในกรณีคลอดบุตรแฝด ผู้ประกันตนชายจะมีสิทธิได้รับเงินประกันสังคม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. เงินค่าคลอดบุตร เบิกได้เท่ากับปกติ คือ 13,000 บาท/ครั้ง
แม้ว่าจะเป็นการคลอดแฝดก็ไม่สามารถเบิก 2 เท่าได้ เพราะประกันสังคมเหมาจ่ายค่าคลอดบุตรเป็นรายครั้ง ไม่ใช่ตามจำนวนบุตร

2. เงินสงเคราะห์บุตร จำนวน 600 บาท/เดือน ตามจำนวนบุตรที่คลอด
หมายความว่าถ้าคลอดบุตรแฝด 2 คน ก็จะได้เงินสงเคราะห์บุตรไปเลย 1,200 บาท/เดือน แต่กำหนดไว้สูงสุดคราวละไม่เกิน 3 คนเท่านั้น

รู้แบบนี้แล้วก็อย่าลืมไปรักษาสิทธิประโยชน์ของตัวเองกันด้วยล่ะ ส่วนใครที่ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์คลอดบุตร ประกันสังคม ก็สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคม หรือโทร. 1506

Share.