Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.


หากใครได้เดินทางผ่าน ย่านใจกลางกรุงเทพฯ ใครที่ผ่านไปแถวๆ ประตูผี หรือ ย่านสำราญราษฎร์ คงต้องใช้สะพานนี้สัญจรไปมา แต่อาจจะไม่ทันได้สังเกตว่า สะพานข้ามคลองสีขาวๆ ธรรมดาๆนั้นหากใครสังเกตจะมีชื่อของสะพานอยู่ด้วย ปรากฏชื่อ “สพานสมมตอมรมารค” หลายคนคงไม่เคยเห็นและอ่านไม่ออก และแท้จริงแล้วสะพานนี้อ่านออกเสียงว่าอะไรและความหมายของมันคืออะไร


“สพานสมมตอมรมารค” เป็นสะพานในตำนานแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ เพราะชื่อที่ใครมาเห็นจารึกบนสะพานข้ามคลองรอบกรุงตรงประตูผีแล้ว ก็ต้องขยี้ตาแล้วตั้งคำถามว่า “อ่านว่าอะไรแน่”

ถนนบำรุงเมืองทางทิศตะวันตก เมื่อตัดข้ามคลองโอ่งอ่างตรงบริเวณที่เรียกว่า ประตูผี ในต้นสมัยรัชกาลที่ ๕ มีสะพานเก่าซึ่งใช้โครงเหล็กรองรับพื้นที่ชักเลื่อนออกจากกันได้ตามแบบสะพานรุ่นเก่าที่ยังคำนึงถึงมาตรการป้องกันพระนครโดยอาศัยคูเมือง ในปี ร.ศ. ๑๒๐ ปรากฏว่าสะพานนี้ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก ประกอบกับจะได้มีการตัดถนนบาตรขึ้นที่เชิงสะพานด้านทิศตะวันออกรางเหล็กของสะพานเลื่อนเก่าเป็นที่กีดขวางหัวถนนใหม่นี้


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบัญชาให้กระทรวงโยธาธิการดำเนินการออกแบบและก่อสร้าง และทรงพระราชทานนามว่า ” สพานสมมตอมรมารค” เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ กรมโยธาธิการ สร้างเสร็จในพุทธศักรา๒๔๔๕ จัดเป็นสะพานขนาดกลางที่มีลักษณะงดงามมากสะพานหนึ่ง โดยเฉพาะลวดลายปูนปั้นประดับตัวสะพานและลูกกรงสะพานคอนกรีต”สมมตอมรมารค” อ่านว่า สม-มด-อะ-มอน-มาก แปลแบบตรงๆ ว่า ทางของเทวดาอันสมมติขึ้น หรือแปลอีกทีว่า ทางของพระเจ้าแผ่นดิน (ผู้เป็นสมมติอมร) นั่นเองชื่อสมมตอมรมารค ยังถูกตั้งขึ้นโดยจงใจให้สอดคล้องกับพระนามกรมของกรมพระสมมติอมรพันธุ์ ผู้ทรงมีวังอยู่ในบริเวณนี้ เช่นเดียวกับสะพานดำรงสถิต ซึ่งอยู่ใกล้กับวังของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

สพานสมมตอมรมารคนี้สร้างขึ้นเมื่อปี ร.ศ.๑๒๐ และแล้วเสร็จในปีถัดมา เพื่อแทนสะพานเหล็กเปิดปิดได้อันเดิมที่ทรุดโทรมลง เมื่อแล้วเสร็จก็นับว่าเป็นสะพานที่งดงามทั้งชื่อ และศิลปกรรมตกแต่งสะพานนับเป็นแลนด์มาร์คหนึ่งของย่านประตูผี นอกจากผัดไทย ไข่เจียวปู และเย็นตาโฟนั่นเอง


ลักษณะสะพานในปัจจุบันเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก พนักราวสะพานทั้งสองข้างเป็นคอนกรีตเจาะเป็นช่อง ลูกกรงเป็นปูนปั้นทำเป็นลายวงกลมเกี่ยวพันกัน ๕ วง แต่ละช่องกั้นด้วยรูปจำลองเสาแบบ Ionic ขนาดเล็ก ปลายพนักทั้งสี่ทำลายขดลักษณะเหมือนตัว “S” ขนาดใหญ่ ที่ขอบพื้นสะพานด้านนอกมีลายวงกลมต่อเนื่องกันตลอดแนว มีแผ่นจารึกนามสะพานตั้งอยู่บนพนักราวสะพานทั้งสองข้าง ลักษณะลวดลายประดับของสะพานสมมตอมรมารคนี้งดงามกว่าสะพานดำรงสถิต ได้รับการบูรณะขยายพื้นผิวจราจรบนสะพานในรัชกาลปัจจุบัน



เพจ จับเข่าเล่าประวัติศาสตร์

Share.