การติดเชื้อยีสต์เกิดจากเชื้อรา Candida หรือเชื้อราในช่องคลอด สาเหตุเกิดขึ้นเมื่อสมดุลถูกทำลายและหากยีสต์มากเกินไปก็จะเริ่มลามยิ่งขึ้น การเติบโตของยีสต์เกิดจากการใช้ยาปฎิชีวนะ, การตั้งครรภ์, โรคเบาหวาน, โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง, ยาคุมกำเนิด หรือการรักษาฮอร์โมน

ซึ่งอาการที่พบได้บ่อย เช่น เกิดอาการคันอย่างรุนแรงและระคายเคืองที่ปากช่องคลอดหรือภายในช่องคลอด มีอาการแสบร้อน โดยเฉพาะในขณะมีเพศสัมพันธ์หรือการปัสสาวะ ตกขาวผิดปกติ อาจมีลักษณะสีขาวข้นคล้ายนมบูด เป็นน้ำใส หรือขาวข้นจับตัวเป็นก้อน บริเวณปากช่องคลอดมีอาการบวม แดง เกิดผื่นแดงทั้งภายในและภายนอกช่องคลอด อาจเกิดการกระจายไปทั่วบริเวณหัวหน่าว อวัยวะเพศ หรือต้นขา


: pinterest.com

1. ทำให้ผิวสะอาดและแห้ง

วิธีที่ดีที่สุดในการยับยั้งการติดเชื้อยีสต์คือการทำให้ผิวของคุณสะอาดและแห้ง นั่นหมายความว่าควรดูแลให้มีสุขอนามัยที่ดีและการดูแลรักษาบาดแผลที่เปิดกว้างหรือบาดแผลที่ใดก็ตามบนร่างกาย ในการรักษาการติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดสิ่งสำคัญคือต้องอาบน้ำทุกวันและทำความสะอาดบริเวณนั้นของคุณ หลังจากอาบน้ำเสร็จก็ต้องแน่ใจว่าตรงนั้นแห้งสนิทดีแล้ว เพราะเชื้อราเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่อับชื้น

2. สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดและใส่สบาย

การสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดและระบายอากาศได้ดี จะช่วยป้องกันความชื้นจากกางเกงที่แน่นเกินไปหรือทำจากผ้าหนาๆ ที่ทำให้อากาศไม่สามารถเข้าถึงอวัยวะเพศได้ ซึ่งสามารถทำให้ติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดได้ง่ายนั่นเอง การเยียวยาการติดเชื้อยีสต์ก็คือควรสวมเสื้อผ้าที่กระชับและระบายอากาศได้ดี


: pinterest.com

3. เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันด้วยโปรไบโอติก

ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หมายถึง มีโอกาสในการเจ็บป่วยหรือติดเชื้อมากขึ้น รวมถึงการติดเชื้อยีสต์ คุณควรทานอาหารสุขภาพอย่างสมดุล เพื่อส่งเสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง และอย่าลืมทานอาหารที่มีโปรไบโอติกด้วยเช่นกัน เพราะเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ซึ่งจะช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อ รวมถึงการติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดด้วย อาหารที่มีโปรไบโอติก เช่น โยเกิร์ตธรรมชาติ, ชาเห็ดแดง, กะหล่ำปลีดอง, มิโซะ และ ถั่วหมักนัตโตะ อาหารเหล่านี้สามารถช่วยรักษาการติดเชื้อราได้ค่ะ

4. ต้องแน่ใจว่าคุณติดเชื้อยีสต์จริงๆ ไม่ใช่อาการแพ้

บางครั้งอาการแพ้อาจส่งผลต่อการติดเชื้อยีสต์ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้แพ้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ถุงยางอนามัย น้ำมันอาบน้ำ หรือผ้าอนามัย เพราะสารเคมีในผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศและส่งผลเสียต่อความสมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด ซึ่งจะนำไปสู่การติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดได้ หากคุณสงสัยว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจเป็นปัญหาให้เปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติแทนนะคะ


: pinterest.com

5. ไปพบแพทย์หรือตรวจเกี่ยวกับฮอร์โมน

ปัจจัยแวดล้อมทางการแพทย์บางอย่างอาจทำให้คุณไวต่อการติดเชื้อยีสต์ เช่น ความไม่สมดุลของฮอร์โมน เมื่อสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายหายไป คุณก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้มากขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้การเป็นโรคเบาหวานก็มีผลต่อการติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดเช่นเดียวกัน เพราะอาหารที่มีน้ำตาลสูงสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของยีสต์ Candida ได้

6. หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะ

การที่เราทานยาปฏิชีวนะติดต่อกันนานๆ ตัวยาจะไปทำลายเชื้อโรคหรือแบคทีเรีย ซึ่งยาดันไปทำลายแบคทีเรียดีในช่องคลอดด้วยนะ จนทำให้เชื้อราในช่องคลอด หรืออาการผิดปกติของตกขาว มีลักษณะเหลืองนวลมีความข้นเป็นก้อนๆ สีขาว และมีกลิ่น ซึ่งเชื้อราจะทำให้ผนังช่องคลอดบวมและเกิดอาการคัน


: pinterest.com

7. เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ

ในช่วงมีประจำเดือนควรมีการเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผ้าอนามัยแบบสอด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอับชื้นที่เป็นที่อยู่ของเชื้อรามากขึ้น

8. รับประทานอาหารเสริมและน้ำมันหอมระเหย

-ทานแอปเปิ้ลไซเดอร์ เพื่อปรับระดับสมดุลของความเป็นกรดในร่างกาย
-ทานอัลเดอร์เบอร์รี่ และ มิลค์ ทิสเซิล เพื่อช่วยทำความสะอาดตับ
-สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี จะช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน
-น้ำมันหอมระเหย เช่น ชาดอกลาเวนเดอร์และไม้หอมเพื่อช่วยฆ่ายีสต์และเชื้อรา โดยผสมน้ำมันหอมระเหยหลายๆ หยดกับน้ำมันมะพร้าวและใช้ทาเฉพาะบริเวณด้านนอกของช่องคลอด

ภาพปกประกอบจาก : pinterest.com

Share.