Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

อากาศร้อน ทำให้อาหารบูดเน่าเสียได้ง่ายกว่าเดิม เพราะเชื้อแบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้มาก และรวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นเพื่อป้องกันอาการท้องร่วง ท้วงเสีย และโรคอาหารเป็นพิษ ก่อนรับประทานอาหารควรระมัดระวังทั้งเรื่องความสะอาด การเก็บรักษาอาหารให้มากกว่าเดิม

วิธีหลีกเลี่ยงอาหารบูดเน่าเสียในช่วงหน้าร้อน ป้องกันท้องเสีย-ท้องร่วง
1. เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และผ่านความร้อนมากพอ ในที่นี้หมายถึง อาหารที่ปรุงผ่านความร้อนเกิน 100 องศาเซลเซียส

2. หลีกเลี่ยงอาหารปรุงสุกที่ตั้งทิ้งไว้นานเกิน 4 ชั่วโมงโดยไม่มีการอุ่นซ้ำ

3. หากซื้ออาหารมาแล้วไม่ได้รับประทานในทันที ควรเก็บโดยนำเข้าตู้เย็น และอุ่นให้ร้อนจนเดือดก่อนนำมารับประทาน

4. ไม่ควรเก็บอาหารที่ปรุงสุกแล้วในตู้เย็นนานเกิน 2-3 วัน

5. หากลืม หรือวางอาหารเอาไว้ในที่อากาศร้อนจัด เช่น ทิ้งไว้ในรถยนต์ เป็นเวลานานกว่า 3-4 ชั่วโมง ไม่ควรนำมารับประทานอีก เพราะเชื้อแบคทีเรียอาจเจริญเติบโตแล้ว

6. ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ควรสังเกตลักษณะ รูป รส กลิ่น ให้ดีก่อน หากมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งเปลี่ยนไป ไม่ควรรับประทาน

7. อาหารที่ปรุงสุกแล้ว ควรจำหน่ายอยู่ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด และมาจากแหล่งผลิตที่ไว้ใจได้

8. หากรับประทานอาหารร่วมกับคนจำนวนมาก ควรใช้ช้อนกลางเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางน้ำลาย เช่น โรคหวัด โรคหัด

9. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งเมื่อต้องสัมผัสกับอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร และหลังขับถ่าย

วิธีสังเกตอาหารบูดเน่าเสีย
1. ดูวันหมดอายุที่บรรจุภัณฑ์

2. กลิ่นของอาหารเปลี่ยนไป เช่น เหม็นเปรี้ยว เหม็นหืน

3. ลักษณะของอาหารมีการเปลี่ยนแปลง เช่น แข็งเป็นก้อน แฉะ เหนียว แกงกะทิอาจข้น หนืด ติดช้อน มีฟอง

4. รสชาติของอาหารที่เปลี่ยนไป เช่น เปรี้ยว ซ่าลิ้น เป็นต้น

5. พบสิ่งแปลกปลอมหรือสีของอาหารเปลี่ยนซึ่งอาจเป็นเชื้อราได้

Share.