Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.


บางสิ่งก็เป็นเรื่องยากจริงๆ ที่จะยอมรับ เราจึงมักจะโกหกกันออกไปก่อนเพื่อแก้ตัวบ้าง เพื่อทำให้อีกฝ่ายสบายใจบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ถึงเหตุผลเบื้องหลังของการโกหกจะแสนดีแค่ไหน สุดท้ายความไม่จริงใจแบบนี้ก็ไม่ได้มีผลดีอย่างที่คิด และ Gangbeauty เข้าใจว่าทุกคนไม่ชอบโดนหลอกกันนักหรอก เรามาจับโกหกด้วยท่าทางง่ายๆ กันดีกว่า!

1. ปิดปาก คนส่วนใหญ่มักจะปิดปากเวลาที่โกหก เพราะมันคือภาษากายอัตโนมัติที่สมองต้องการจะสื่อว่าบุคคลนั้นไม่ต้องการสนทนาต่อ ไม่ว่าจะใช้มือ หนังสือ หรือแก้วน้ำก็ตาม นอกจากนี้ถ้าคู่สนทนาใช้มือปิดศีรษะ คอ หรือหน้าท้อง ก็นับว่าเข้าข่ายปกปิดความจริงเหมือนกัน เพราะการโกหกแล้วโดนไล่ต้อนนั้น จะรู้สึกเหมือนกำลังถูกโจมตี รู้สึกอ่อนแอมากนั่นเอง


pixabay.com
2. พูดวน บอกรายละเอียดมากไป ความเงียบคือสถานการณ์ที่น่าอึดอัด และคนโกหกก็ไม่ชอบความเงียบเอาเสียเลย ดังนั้นพวกเขาจึงพยายามพูดให้มากเกินความจำเป็นเพื่อรักษาบรรยากาศไม่ให้เงียบ เผลอๆ ก็พูดให้ข้อมูลมากกว่าที่ถามไปซะอีก ยิ่งถ้าเราเงียบนานเท่าไหร่ พวกเขาก็จะยิ่งหาเรื่องมาพูดมากขึ้นเท่านั้น จนบางทีก็ลืมตัว พูดแต่ประโยคเดิมซ้ำๆ เพราะต้องการยื้อเวลารวบรวมความคิดออกไปเรื่อยๆ

3. ปากกับร่างกายไม่สัมพันธ์กัน ปากจะพูดอะไรก็ได้ แต่ร่างกายไม่ใช่ว่าจะทำได้ทุกอย่าง แม้ปากจะกำลังเล่าเรื่องเศร้า ทว่าร่างกายของพวกเขามักจะดูลุกรี้ลุกลน ตื่นเต้นผิดปกติซะอย่างนั้น

4. เตรียมชิ่ง สังเกตให้ดีกับสายตาของเขา ถ้าเราเริ่มต้นบทสนทนาแล้วเขาเพ่งสายตามองไปรอบๆ หรือมองไปยังทิศทางที่มีประตู หรือมีท่าทีเตรียมลุกขึ้นเดิน ให้สันนิษฐานได้เลยว่าพวกเขากำลังจะโกหก


www.flickr.com
5. จังหวะการหายใจเปลี่ยนไป การโกหกจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจกับระดับการไหลเวียนของเลือดเปลี่ยนไป ทำให้การหายใจของพวกเขาฝืดเคือง และแรงขึ้นจนดูเหมือนคนไม่สบาย บางครั้งก็ถึงกับปากแห้ง พูดจาติดขัดไปหมด

6. ก้าวร้าว ในระหว่างบทสนทนา เมื่อไหร่ที่เราเอ่ยปากถามคำถาม แล้วเขาจ้องตาเราไม่กระพริบ หรือทุบโต๊ะ อะไรก็ตามที่เป็นท่าทางของคนก้าวร้าว หัวรุนแรง มักเป็นการทำเพื่อกลบเกลื่อน ทำเพราะต้องการให้เราเชื่อในสิ่งที่เขาพูดทุกอย่างเท่านั้นเอง


pxhere.com
7. อยู่ไม่สุข อาการกระสับกระส่ายคือสัญญาณชัดเจนว่าคนเรากำลังเผชิญในภาวะเครียด อาจจะเป็นการเล่นผม สั่นขา เคาะนิ้ว ดึงหู หรือเกาศีรษะก็ได้ สื่อถึงความกดดันภายในใจของพวกเขาได้อย่างดีเลยล่ะ


pxhere.com

แต่ถ้าอีกฝ่ายเป็นโรคสมาธิสั้น หรือป่วยทางจิต สิ่งเหล่านี้่ก็วัดอะไรไม่ได้เหมือนกัน!

Share.