Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

ปลากะพงขาว ถือเป็นปลาเศษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้สูง แถมปลากะพงมีสมบัติพิเศษคือสามารถอยู่ได้ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ซึ่งสามารถปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติได้ ทั้งยังมีโปรตีนสูง เลี้ยงแล้วปลาโตดี โตไว และสามารถเลี้ยงในอัตราความหนาแน่นที่สูงได้ จับขายได้น้ำหนัก มีราคาดีแน่นอน !!

3 เทคนิคสำคัญที่จะทำให้เลี้ยงปลากะพงขาวได้เนื้อคุณภาพดี

1. ต้องมีลูกพันธุ์ที่ดี ขนาดตัวเท่ากัน แข็งแรง พร้อมปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงได้

2. คุณภาพน้ำต้องมีการดูแลให้ทั่วถึง น้ำต้องหมุนเวียนเร็ว ห้ามมีของเสียกองบริเวณพื้นบ่อ เพราะนั่นคือการทำให้เกิดแอมโมเนียที่เป็นตัวร้ายทำให้ปลาเสียหายได้ทั้งบ่อ

3. อาหารที่ใช้เลี้ยงโปรตีนต้องสูง สามารถใช้ในการเลี้ยงปลาที่ความหนาแน่นสูงได้

การเตรียมบ่อเลี้ยง

โดยการปรับหน้าดินและยกคันบ่อขึ้น เนื้อที่บ่อขนาด 1-2 ไร่ ฆ่าเชื้อบริเวณพื้นบ่อด้วยกากชาและปูนขาวเพื่อฆ่าศัตรูที่อยู่ในดิน และไข่ปลาที่จะฟักเป็นตัวมาแย่งอาหารปลากะพงขาวกิน ใช้เวลาตากบ่อประมาณ 10 วัน ในระหว่างนี้จะมีการทรีตน้ำ

ส่วนการเตรียมน้ำเข้าบ่อจะทำการทรีตน้ำเป็นเวลา 7 วัน ก่อนนำลูกปลาลงปล่อย น้ำที่ใช้เลี้ยงมาจากคลองที่ทำการขุดลอกเข้ามาใช้ภายในฟาร์มเลี้ยง ความลึกของน้ำที่ใช้เลี้ยงอยู่ที่ 1.5 เมตร ติดตั้งเครื่องตีน้ำมากสุด 10 เครื่อง ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของปลา

โดยเครื่องตีน้ำที่ใช้มีทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ

1. เครื่องตีน้ำแบบที่ 1 คือ “เครื่องตีน้ำแบบ 4 ใบพัด” จะติดตั้งจำนวน 6 เครื่อง/บ่อ เพื่อสร้างให้น้ำไหลหมุนเป็นวงกลมไปรอบๆ บ่อ เพื่อฝึกให้ปลาว่ายทวนน้ำตลอดเวลา

2. เครื่องตีน้ำแบบที่ 2 คือ “เครื่องตีน้ำที่ทำงานคล้ายคลึงกับน้ำพุ” จำนวน 1 เครื่อง ทำงานโดยดูดน้ำจากก้นบ่อขึ้นมาเหมือนน้ำพุ เพื่อช่วยไม่ให้ตะกอนกองรวมกันที่ก้นบ่อ และช่วยให้น้ำได้สลับชั้นกัน เพื่อปรับอุณหภูมิภายในน้ำไปในตัว ซึ่งอุณหภูมิในน้ำที่เหมาะสมที่สุดอยู่ที่ 28-30 องศา อีกทั้งการสลับน้ำจากก้นบ่อขึ้นมาจะทำให้เชื้อแบคทีเรียต่างๆ ที่อยู่ในน้ำลึก เมื่อขึ้นมาผิวน้ำจะถูกแสงแดดฆ่าตายหมด ซึ่งจะทำให้น้ำได้คุณภาพที่ดียิ่งขึ้น ลดการเพาะเชื้อโรคในน้ำได้

3. เครื่องตีน้ำแบบที่ 3 ที่ใช้เป็นการสร้างน้ำ คือ “เครื่องสร้างน้ำให้เป็นคลื่น” โดยการดูดน้ำจากข้างล่างแล้วผลักน้ำออกไปด้านข้างเพื่อให้เกิดคลื่นน้ำ ทางฟาร์มใช้เครื่องตีน้ำแบบนี้ เพราะต้องการให้ปลาได้ออกกำลังกาย และเพื่อแลกเปลี่ยนอุณหภูมิของน้ำภายในบ่อเลี้ยง ช่วยให้ปลาไม่เครียด กินอาหารดี และโตไว

การให้อาหารปลากะพงขาว

ใช้อาหารปลากะพงขาวโปรตีน 40% ขึ้นไป โดยจะให้อาหารวันละ 2 มื้อ ช่วงเช้า และช่วงเย็น ในแต่ละมื้อจะให้อาหารจนกว่าปลาจะอิ่ม อัตราการแลกเนื้อของปลาที่ฟาร์มจะอยู่ที่ 1.15% ไม่เกิน 1.25% ในแต่ละรอบที่เลี้ยงต่อไปจนครบ 135 วัน จึงจับขายสู่ตลาด อัตราการปล่อยอยู่ที่ 12,000-15,000 ตัวต่อบ่อ 1 ไร่ ขนาดปลาที่จับอยู่ที่ 800 กรัม/ตัว เป็นปลาไซซ์ทั้งหมด ซึ่งขายได้ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 115 บาท หรือตามท้องตลาดทั่วไป

โรคที่พบในปลากะพงขาว

มักพบพวกปรสิตทั่วไป เช่น ปลิงใส หนอนสมอ เห็บระฆัง ซึ่งมาจากน้ำเป็นหลัก แต่ทางฟาร์มจะเน้นการแก้ไขที่ต้นเหตุด้วยการฆ่าเชื้อตั้งแต่เริ่มเตรียมบ่อ และสูบน้ำเข้าบ่อ เมื่อนำน้ำเข้าสู่บ่อก็มีการทรีต การฆ่าเชื้อ ทางฟาร์มจะไม่เน้นแก้ไขทุกอย่างที่ปลายเหตุ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อปลารุ่นต่อๆ ไป และทางฟาร์มยังมีการสุ่มตรวจปลาทุกๆ 2 อาทิตย์ เพื่อดูอาการของปลา ไซซ์ปลา ลักษณะของปลาภายในบ่อเลี้ยง

: palangkaset

Share.