Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

อาการปวดหัวที่เรามักพบบ่อยๆ มีอยู่ 2 ประเภท คือ ปวดหัวแบบมีความผิดปกติในสมอง เช่น  มีอาการหลอดเลือดโป่งพองในสมอง เส้นเลือดดำในสมองอุดตัน หรือมีก้อนเนื้องอกในสมอง  และอีกหนึ่งอาการปวดหัวที่มักพบบ่อยในคนทั่วไป โดยเฉพาะหนุ่มสาววัยเรียนวัยทำงาน คือ อาการปวดหัวจากความเครียดและอาการปวดหัวจากไมเกรน

อาการปวดหัวแบบต่างๆ ที่พบบ่อย
ปวดแบบมีความผิดปกติในสมอง
– มักพบในผู้สูงอายุ 45 ปีขึ้นไป หรืออาจเกิดขึ้นกับวัยอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน
– ปวดรุนแรงมากแบบไม่เคยรู้สึกปวดขนาดนี้มาก่อน
– มักพบในคนที่ไม่เคยปวดหัวมาก่อน อยู่ดีๆ ก็ปวด
– ปวดจนต้องตื่นนอน นอนต่อไม่ไหว
– ปวดตอนไอ จาม เบ่ง
– อาจปวดตอนนั่งแต่ไม่ปวดตอนนอน หรือปวดตอนนอนแต่ไม่ปวดตอนนั่ง
– อาจมีอาการปวดหัวจนอาเจียนหลังตื่นนอน
– อาจปวดหัวบ่อยๆ แบบทนได้ แต่หลังๆ ปวดต่างไปจากเดิม
– กินยาไม่หายขาด จะต้องพบแพทย์ด้านระบบประสาท

ปวดหัวจากความเครียด
– มักพบในวัยเรียนวัยทำงานส่วนใหญ่
– มีอาการปวดหัวทั้งสองข้าง รู้สึกรัดๆ ตึงๆ จากกล้ามเนื้อ ลามไป หน้าผาก ขมับ กระบอกตา
– เกิดจาการจากการทำงานหนัก ทั้งการทำงานใช้แรงกาย การทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน งานที่ใช้สายตามากจนล้า
– ขับรถไกลๆ นั่งรถไกลๆ ก็อาจทำให้ร่างกายเครียดจนปวดหัวได้
– เกิดจากความเครียดจากจิตใจ มีเรื่องกระทบจิตใจร้ายแรง
– พักผ่อน กินยา นอนหลับ ตื่นมาก็สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ

ปวดหัวไมเกรน
– ส่วนมากมักเกิดกับผู้หญิง อายุไม่เกิน 40
– มีอาการปวดหัวข้างเดียว ซีกซ้ายขวาสลับกันได้ ลักษณะปวดตุ๊บๆ
– อาจปวดประมาณ 4 ชั่วโมง และยาวต่อเนื่องไปถึง 3 วันได้ หากไม่ได้กินยา
– ต้องกินยาแก้ปวดไมเกรนโดยเฉพาะ
– สาวๆ อาจมีอาการปวดหัวไมเกรนได้ก่อนช่วงมีประจำเดือนหรือมีประจำเดือน 3 วันแรก เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวมากกว่าปกติ แต่เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้น ไม่ต้องกังวล
– อาหารกระตุ้นปวดหัวไมเกรน คือ อาหารในกลุ่มที่มีชีส ของหมักดอง กาเฟอีนสูง แอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต

ปวดหัวส่วนไหน บอกโรคอะไรได้บ้าง
– ปวดหัวซีกเดียว หรือปวดไมเกรน อาจเปลี่ยนซีกซ้ายขวา เป็นภาวะปกติ ไม่น่ากังวล เพราะหมายถึงไม่มีรอยโรคจุดใดจุดหนึ่งชัดเจน แต่ถ้าปวดข้างใดข้างหนึ่งเสมอ เช่น ข้างขวาทุกครั้ง และมีอาการแรงขึ้นเรื่อยๆ อาจจะผิปกติสมองซีกนั้น ปวดข้าวเดียวมักเป็นไมเกรน แต่สลับข้างได้
– ปวดขมับ หน้าผาก ตา กระบอกตา เป็นอาการปวดหัวเกิดจากความเครียด
– ปวดบริเวณท้ายทาย เป็นอาการปวดหัวจากความดันโลหิตสูง
– ปวดบริเวณโพรงจมูก แก้ม  อาจเกิดจากไซนัสอักเสบ

ดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการปวดหัว
ปวดหัวไม่เกิน 2 ครั้ง / เดือน
ถ้าไม่ได้ปวดหัวเป็นประจำ ปวดหัวไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน เช่น เกิดจากการอดนอน นอนไม่พอ เกิดจากความเครียด ปวดจากอาการไข้ขึ้น ป่วย ไม่สบาย อาจนอนพักผ่อนเมื่อตื่นมาอาการจะดีขึ้น หากไม่ดีขึ้น สามารถกินยาแก้ปวดพาราเซตามอลได้ หรือหากกินพาราเซตามอลแล้วไม่หาย อาจเกิดจากไมเกรนต้องกินยาเฉพาะทางให้ตรงกับโรค

ปวดหัวเกิน  2 ? 4 ครั้ง / เดือน
ปวดหัวบ่อยอาจเป็นเพราะเป็นโรคปวดหัว จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน  โดยที่ไม่ได้มีความผิดปกติในสมอง ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการกินยา คือ ยาเฉพาะเวลาปวดและยาป้องกันอาการ  ถ้าปวดบ่อยจนต้องกินยาเกินเดือนละ 10 เม็ด ยาอาจส่งผลข้างเคียงต่อตับและไตได้ ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์ด้านระบบประสาทเพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม

ปรับไลฟ์สไตล์ ลดอาการปวดหัว
– การพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนมากไป นอนน้อยไป สามารถทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ ควรนอนพักผ่อนให้เหมาะสม 6 ? 8 ชั่วโมงต่อวัน และควรนอนหลับก่อนเวลา 23.00 น.
– อากาศเปลี่ยน มีมลภาวะ
– ใช้ฮอร์โมนในการรักษา หรือกินยาคุม มีผลต่ออาการปวดหัว ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
– ทำงานหนักเกินไป ใช้สายตาหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน อาจทำให้ร่างกายล้าจนเกิดอาการปวดหัว โดยทุก 1 ชั่วโมงควรลุกเดิน ยืดเส้นยืดสาย พักสายตา มองบริเวณสีเขียวหรือหลับตาพัก จะช่วยลดอาการได้
– ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที / สัปดาห์
– จิบน้ำบ่อยๆ
– ผู้ที่มีอาการปวดไมเกรน ต้องเลี่ยงการอยู่ในที่แสงสว่างจ้า เสียงดังๆ
– เลี่ยงอาหารจำพวกหมักดอง อาหารที่มีชีสเป็นส่วนผสม กาเฟอีน และแอลกอฮอล์

Share.