Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

“อย่าสูบบุหรี่เลย เดี๋ยวเป็นมะเร็งปอดไม่รู้ด้วย” นี่เป็นคำพูดของเราเมื่อเห็นเพื่อนรักสูบบุหรี่ เพื่อนมองเราพร้อมทำหน้าเจื่อนๆ แต่ก็ไม่ได้หยุดสูบแต่อย่างใด แม้ว่าเราจะห้ามเพื่อนไม่สำเร็จ แต่เราคิดว่าเราทำหน้าที่เพื่อนที่ดีเรียบร้อยแล้ว ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับชีวิตของเขาแล้วล่ะ

เอาเข้าจริงแล้ว ตัวเราเองที่ไม่ได้สูบบุหรี่เลย ก็อาจเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดได้เหมือนกันหากเข้าข่ายพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ มีสาเหตุของมะเร็งปอดอะไรที่นอกเหนือไปจากบุหรี่บ้าง มาระวังตัวกันดีกว่าค่ะ

จากสถิติที่ได้มีการรวบรวมไว้พบว่า ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดเป็นผู้ป่วยที่ไม่ได้สูบบุหรี่อยู่ประมาณ 10 – 15 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยทั้งหมด โดยที่ 2 ใน 3 เป็นผู้ป่วยเพศหญิง ซึ่งในช่วงหลังมานี้ ผู้หญิงที่ป่วยเป็นมะเร็งปอดในเอเชียโดยที่ไม่ได้สูบบุหรี่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งชนิดของเซลล์มะเร็งปอดที่พบในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกัน

กลุ่มแรก ผู้ป่วยมะเร็งปอดจากการสูบบุหรี่ มักถูกพบเซลล์มะเร็งชนิดสแควร์มัส โดยพบเป็นก้อนอยู่ที่บริเวณทางเดินหายใจ และมักจะแสดงอาการให้เห็นเร็วกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้สูบบุหรี่ อาทิ มีอาการไอ หรือไอเป็นเลือด

กลุ่มที่สอง ผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ไม่ได้เกิดจากการสูบบุหรี่ มักถูกพบเซลล์มะเร็งชนิดอะดีโนคาร์ซิโนม่า มักถูกพบก้อนเนื้อที่บริเวณปอดในส่วนที่ห่างจากทางเดินหายใจ จึงทำให้ไม่แสดงอาการให้เห็นในช่วงแรก อาการที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หายใจสั้น อาจปวดตามข้อ หรือตามกระดูกที่เกิดจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปตามกระแสเลือด นอกจากนี้ เซลล์มะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยที่ไม่ได้สูบบุหรี่ คือ บรองโคแอลวีโอล่าร์คาร์ซิโนม่า หรือบีเอซี จะพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นเพศหญิง มีอายุน้อย ซึ่งเชื้อตัวนี้ในระยะหลังมีแนวโน้มที่จะถูกพบในผู้ป่วยได้มากขึ้นอย่างไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

พฤติกรรมเสี่ยง “มะเร็งปอด” แม้ไม่สูบบุหรี่
1. สูดหายใจเอาควันบุหรี่เข้าปอด

หนึ่งในกรณีที่เราอาจเข้าข่าย และเชื่อว่าหลายคนอาจจะมีโอกาสอยู่ในสถานการณ์นี้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะตามเพื่อนไปเที่ยวตามสถานที่บันเทิง ยืนท่ามกลางฝูงคนที่พ่นควันบุหรี่ตลอดเวลา การสูดเอาควันบุหรี่ของคนอื่นเข้าปอด เผลอๆ จะอันตรายยิ่งกว่าตัวคนสูบบุหรี่เองเสียอีก ดังนั้นถ้าเพื่อนรักจะสูบบุหรี่ ไล่ให้ออกไปสูบไกลๆ หรือไม่ก็ต้องย้ายตัวคุณเองนี่แหละออกมา หมดมวนค่อยเจอกัน

2. กรรมพันธุ์

เรื่องที่น่าเศร้า คือ คุณอาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งปอด หากสมาชิกในครอบครัวของคุณเคยเป็นโรคมะเร็งปอดมาก่อน โดยคุณอาจจะไม่เคยแตะต้องบุหรี่มาก่อนในชีวิตก็ได้ ดังนั้นหากคุณทราบว่าครอบครัวของคุณมีประวัติเป็นโรคมะเร็งปอดมาก่อน ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะการตรวจปอด และอย่าลืมบอกแพทย์ด้วย

3. สูดดมสารเคมีมากเกินไป

ลองสังเกตสถานที่ทำงาน หรือละแวกรอบบ้านของคุณดูดีๆ ว่าคุณต้องผจญอยู่กับสารเคมีอันตรายเช่น สารหนู ก๊าซเรดอน รังสี ไอระเหยต่างๆ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวันหรือเปล่า ไม่ว่าคุณจะทำงานในโรงงานที่เต็มไปด้วยฝุ่นละอองจากเครื่องจักร ใช้สารเคมีกลิ่นรุนแรงเพื่อผลิตสินค้า หรือแม้กระทั่งอาศัยใกล้แหล่งโรงงานที่ปล่อยของเสียทิ้งลงพื้น หรือแหล่งน้ำ ที่ส่งกลิ่นเหม็นตลอดเวลา หากมีข้อใดข้อหนึ่งตามนี้ ลองปรึกษาภาครัฐเพื่อช่วยแก้ปัญหา ก่อนที่จะสายเกินไป

อาการของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งปอด
– ไอเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจจะไม่มีเสมหะในช่วงแรก หลังๆ อาจมีเสมหะเพราะเซลล์มะเร็งจะเริ่มอุดกั้นบางส่วนของปอด จนเกิดเป็นมูกใส หรืออาจมีสีเขียวหรือเหลืองหากติดเชื้อ

– หอบเหนื่อย หายใจลำบาก

– เจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาเกร็ง หรือสูดลมหายใจแรงๆ

มะเร็งปอด รักษาอย่างไร
มีวิธีการรักษาโรคมะเร็งปอดหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความสาหัสของอาการที่พบว่าอยู่ในระยะใด มีทั้งหารผ่าตัดเอาเซลล์มะเร็งออกจากปอด การใช้เคมีบำบัด ฉายรังสี หรือการให้ภูมิคุ้มกันเพิ่ม เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งปอดอาจมีภูมิคุ้มกันผิดปกติ โดยอาจใช้วิธีเหล่านี้เดี่ยวๆ วิธีเดียว หรืออาจจะใช้หลายวิธีควบคู่กันไปก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สูบบุหรี่ยังคงมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดสูงที่สุด โดยสูงกว่าคนที่ไม่ได้สูบมากถึง 20 เท่า ดังนั้นไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การเลิกสูบบุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยหลีกเลี่ยงการเป็นมะเร็งปอดอย่างได้ผลจริงๆ ค่ะ มาเลิกสูบบุหรี่เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่สดใสกันดีกว่าค่ะ

Share.