Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

ข้าวเหนียวมะม่วง แคลอรีดูท่าจะไม่น้อย แต่ของอร่อยสุดฟินในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ไม่กินก็แสนจะเสียดาย ดังนั้นจะกินข้าวเหนียวมะม่วงไม่ให้อ้วน ไม่เสี่ยงต่อสุขภาพก็ควรมีเคล็ดลับสักหน่อยนะจ๊ะ

นอกจากจะมีเทศกาลสำคัญแล้ว ในฤดูร้อนยังมีของอร่อยให้กินหลายเมนู โดยเฉพาะเมนูมะม่วงทั้งสุกและมะม่วงมัน แต่ที่น่ากินมากๆ และต้องจัดกันทุกปีคงเป็นเมนูข้าวเหนียวมะม่วงแน่ๆ ใช่ไหมคะ แต่เอ…ข้าวเหนียวมูน+มะม่วงสุก ดูเป็นอาหารแคลอรีสูงและไขมันสูง ทีนี้ถ้าอยากกินข้าวเหนียวมะม่วงแบบไม่อ้วน ไม่เสี่ยงสุขภาพ ควรกินข้าวเหนียวมะม่วงแบบไหนดีล่ะ ลองมาอ่านเคล็ด(ไม่)ลับ กินข้าวเหนียวมะม่วงแบบนี้สิ แล้วสุขภาพจะแฮปปี้ ไม่เสี่ยงโรค

1. กินมะม่วงมากกว่าข้าวเหนียว

เช่น กินมะม่วงสุกครึ่งลูก (ขนาดกลาง) จะได้พลังงานประมาณ 70 กิโลแคลอรี ส่วนข้าวเหนียวมูนให้กิน 100 กรัม หรือ 1 ขีด จะให้พลังงาน 280 กิโลแคลอรี เมื่อรวมกันแล้วจะเท่ากับ 350 กิโลแคลอรี ซึ่งเทียบเท่ากับแคลอรีที่ได้จากอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดหรืออาหารที่เด็กวัยรุ่นที่นิยมกินกันหลายๆ ชนิด เช่น โดนัทเคลือบคาราเมล พิซซ่า และแฮมเบอร์เกอร์ ของพวกนี้ก็ให้พลังงานประมาณ 350 กิโลแคลอรี แต่ข้าวเหนียวมะม่วงมีคุณค่าทางโภชนาการและเชิงอาหารเพื่อสุขภาพมากกว่า

2. กินข้าวเหนียวมะม่วงช่วงเวลากลางวัน

กลางวันเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องใช้พลังงานทำกิจกรรมต่างๆ ดังนั้นเราจะมีเวลาเผาผลาญพลังงานจากข้าวเหนียวมะม่วงได้บ้าง แต่หากกินข้าวเหนียวมะม่วงมื้อเย็น พลังงานจากข้าวเหนียวมะม่วงที่ร่างกายได้รับเข้าไปอาจเผาผลาญและนำไปใช้ไม่หมด เกิดเป็นไขมันสะสมตามร่างกายได้นะคะ

3. กินแต่พอเหมาะ

ลำพังมะม่วงสุกครึ่งผลขนาดกลาง ก็ให้พลังงานประมาณ 70 กิโลแคลอรีแล้ว ส่วนข้าวเหนียวมูนรสกลมกล่อมปริมาณ 1 ขีด ก็ให้พลังงานมากถึง 280 กิโลแคลอรี รวมๆ แล้วเมนูข้าวเหนียวมะม่วง 1 จาน ให้พลังงานประมาณ 350 กิโลแคลอรี กินบ่อยๆ หลายๆ มื้อต่อวันก็เพิ่มแคลอรีไปอีกหลายเท่าตัว อ้วนชัวร์ไม่ต้องสืบ

ดังนั้นควรกินข้าวเหนียมมะม่วงสัปดาห์ละไม่เกิน 3 ครั้ง เพราะข้าวเหนียวมะม่วงเป็นอาหารที่มีทั้งน้ำตาลและไขมันปริมาณที่ค่อนข้างสูง กินมากเกินพอดีอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพได้หลายด้าน และสำหรับคนที่มีโรคประจำตัว ก็ควรลดปริมาณข้าวเหนียวลงให้เหลือสักครึ่งขีด และลดความถี่ลงเป็นกินข้าวเหนียวมะม่วงสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก็พอนะคะ

4. บริโภคแต่น้อยและหมั่นออกกำลังกาย

ต้องไม่ลืมว่าข้าวเหนียวมะม่วงให้พลังงานเทียบเท่ากับการกินอาหารมื้อหลัก 1 มื้อเลยทีเดียว (บะหมี่แห้ง 1 ชาม หรือพิซซ่า 1 ชิ้น) เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืมออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานที่กินเข้าไปด้วย คราวนี้มาดูกันบ้างค่ะว่า ข้าวเหนียวมะม่วง 1 จาน ต้องเผาผลาญด้วยวิธีไหน

– ตัวอย่างการออกกำลังกายที่จะเผาผลาญพลังงานที่ได้จากการกินข้าวเหนียวมะม่วง 1 จาน

* วิ่ง 45 นาที

* ว่ายน้ำ 32 นาที

* ปั่นจักรยาน 60 นาที

* เดิน 100 นาที

5. เลือกกินข้าวเหนียวดำ

ข้าวเหนียวดำเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นช้ากว่าข้าวเหนียวข้าวที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว หรือถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีกก็ควรเลือกกินข้าวเหนียวที่มูนด้วยน้ำกะทิที่ผสมสีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ดอกอัญชัน แครอท ขมิ้น และใบเตย เพราะจะได้รับสารพฤกษเคมีที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเข้าไปด้วย

6. กินมะม่วงแก่จัด

เพื่อให้ได้รสชาติดีและสารอาหารจากมะม่วงครบถ้วน ควรซื้อมะม่วงที่แก่จัด และควรปล่อยให้สุกตามธรรมชาติ เนื่องจากมะม่วงที่บ่มแก๊สจะให้กลิ่นและรสที่ไม่ดีเท่ากับมะม่วงสุกตามธรรมชาติ วิธีการสังเกตคือ มะม่วงที่แก่จัดนั้นผลจะอวบ ด้านล่างของมะม่วงจะไม่แหลม ส่วนมะม่วงที่เก็บมาตอนไม่แก่จัดแล้วนำมาบ่มแก๊สผิวจะเหี่ยว

7. ราดด้วยกะทิธัญพืช (ถ้าเป็นไปได้)

กะทิธัญพืชจะมีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่ากะทิจากมะพร้าว ที่สำคัญกะทิธัญพืชยังให้พลังงานน้อยกว่ากะทิมะพร้าวอีกด้วยนะคะ ดังนั้นหากเลือกได้ หรือมีโอกาสเข้าครัวมูนข้าวเหนียวกินกับมะม่วงสุกเอง ลองเลือกใช้กะทิธัญพืชมาราดแทนกะทิมะพร้าว แล้วอย่าลืมลดหวาน ลดเค็ม เพื่อเซฟสุขภาพด้วยล่ะ

ข้าวเหนียวมะม่วง ประโยชน์ก็ไม่น้อย

หลายคนอาจมองว่าข้าวเหนียวมะม่วงมีทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน คอเลสเตอรอล ซึ่งห่างไกลจากคำว่าอาหารเพื่อสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง แต่ที่จริงแล้วประโยชน์ของข้าวเหนียวมะม่วงก็มีนะคะ โดยกะทิ จัดเป็นแหล่งของพลังงานที่ดี อีกทั้งในกะทิยังมีสารต้านอนุมูลอิสระและมีกรดอะมิโนจำเป็นอีกหลายชนิด โดยเฉพาะถ้าเลือกใช้กะทิธัญพืช เราจะได้ประโยชน์จากธัญพืชเหล่านั้นเพิ่มเติมดังที่กล่าวไปข้างต้น

ที่สำคัญกะทิยังเป็นตัวช่วยให้ร่างกายสามารถนำวิตามินเอที่มีอยู่ในเนื้อมะม่วงไปใช้ได้ เพราะวิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ต้องอาศัยไขมันเป็นตัวช่วยพาเข้าร่างกาย จึงนับเป็นความฉลาดของคนไทยสมัยก่อนที่จับคู่ข้าวเหนียวมูนด้วยกะทิคู่กับมะม่วง

และในส่วนของมะม่วงนั้น ประโยชน์และสรรพคุณก็ไม่ธรรมดา โดยประโยชน์ของมะม่วง ก็ตามนี้เลย

ข้าวเหนียวมะม่วง ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคใดบ้าง

ข้าวเหนียวมะม่วงเป็นอาหารที่มีปริมาณน้ำตาล ไขมัน และให้พลังงานค่อนข้างสูง ดังนั้นผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคอ้วน ควรระมัดระวังในการกินข้าวเหนียวมะม่วงด้วย โดยควรกินข้าวเหนียวมะม่วงไม่เกินสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และหากอยากกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ควรลดปริมาณข้าวเหนียวลงครึ่งขีดด้วย

ทั้งนี้ก็ควรกินมะม่วงสุกแต่น้อย โดยจำกัดการกินมะม่วงสุกครั้งละไม่เกิน 1 ผขนาดกลาง และในหนึ่งสัปดาห์ไม่ควรกินมะม่วงสุกเกิน 2 ครั้ง ส่วนผู้ป่วยโรคไตควรงดกินมะม่วงสุกทุกกรณี เพราะในมะม่วงสุกมีปริมาณโพแทสเซียมสูง ซึ่งอาจส่งผลให้อาการโรคไตกำเริบได้

อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุก็ควรกินข้าวเหนียวมะม่วงในปริมาณพอเหมาะ สัปดาห์ละไม่เกิน 2 ครั้งด้วยนะคะ เพราะข้าวเหนียวจัดเป็นอาหารย่อยยาก อีกทั้งผู้สูงวัยมีระบบเผาผลาญพลังงานที่ไม่ดีเท่าวัยหนุ่ม-สาว ฉะนั้นบริโภคข้าวเหนียวมะม่วงแต่น้อย เน้นกินผัก-ผลไม้ อาหารประเภทต้ม นึ่ง อบ ให้มาก จะช่วยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว

Share.