Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

ไม่มีใครไม่อยากนอนไม่หลับ แม้ว่าจะอยากให้วันหนึ่งมีมากกว่า 24 ชั่วโมงเพื่อที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ได้มากกว่าก็เดิมก็ตาม แต่สุดท้ายถึงช่วงเวลาที่อยากนอนหลับ ใครๆ ก็อยากนอนง่ายๆ สบายๆ หัวถึงหมอนก็หลับได้เลย แต่หากใครที่นอนอย่างไรก็ไม่หลับ นอนจากจะต้องทรมานกับอาการอ่อนเพลียจนทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงในระยะสั้นแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวด้วย

4 เหตุผลพบได้บ่อย สาเหตุ “นอนไม่หลับ”
1. อายุที่มากขึ้น
หากลองสังเกตจะพบว่าในช่วงวัยเด็กเรานอนหลับกันง่ายมาก ง่วงง่าย หลับง่าย ในขณะที่เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่อายุมากขึ้น จะเริ่มตื่นง่ายกว่าเดิม ตื่นเช้ามากกว่าปกติ รวมถึงนอนหลับยากขึ้นด้วย ส่งผลให้ระยะเวลาในการนอนน้อยกว่าช่วงวัยเด็ก จาก 8-10 ชั่วโมงลดเหลือ 6-8 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย นอกจากนี้ยังตื่นขึ้นมากลางดึกง่ายหากมีการรบกวนด้วยแสง เสียง หรือการลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึกบ่อยกว่าในช่วงวัยเด็ก เป็นต้น

2. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
วิถีชีวิต หรือไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลถึงการนอนหลับของคุณได้เช่นกัน เช่น

ดื่- มแอลกอฮอล์ก่อนถึงเวลาเข้านอนไม่เกิน 4 ชั่วโมง บางคนอาจคิดว่าแอลกอฮอล์อาจทำให้หลับง่ายขึ้น เพราะบางคนดื่มแล้วง่วงนอน แต่ไม่ใช่กับทุกคน และไม่ใช่เรื่องดีที่จะต้องพึ่งพาแอลกอฮอล์ในการเข้านอนอีกด้วย

– กินอาหารก่อนเข้านอนไม่เกิน 4 ชั่วโมง การเข้าทันที หรือหลังกินอาหารจนเต็มท้องไม่นาน อาจเสี่ยงกรดไหลย้อน หรือมีอาการแสบกลางอกได้ จึงทำให้นอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิทได้

– งีบระหว่างวันมากเกินไป ในช่วงวันหยุด หลายคนอาจจะขอเวลาในช่วงกลางวันงีบหลับเพื่อพักสายตาสัก 10-15 นาที แต่บางคนก็งีบหลับไปหลายชั่วโมง นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ตอนกลางคืนไม่หลับไม่นอนเพราะตาสว่างเรียบร้อยแล้ว สาเหตุนี้อาจเกิดขึ้นได้กับวัยชราที่มักงีบหลับในตอนบ่ายได้

– ดื่มคาเฟอีนมากเกินไป แม้ว่าแต่ละคนจะมีความทนทานต่อคาเฟอีนมากน้อยไม่เท่ากัน แต่ไม่ว่าอย่างไรการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป ส่งผลให้สมองตื่นตัวมากจนนอนไม่หลับในตอนกลางคืนได้ โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยได้ดื่มคาเฟอีนเท่าไร มีปฏิกิริยาต่อคาเฟอีนมากกว่าคนปกติ หรือดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนในช่วงเย็นของวัน (ก่อนนอน 6 ชั่วโมง) สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เรานอนไม่หลับได้

3. ผลข้างเคียงจากการกินยารักษาโรคบางชนิด
ยาบางชนิดกินแล้วง่วง แต่ก็มียาบางชนิดกินแล้วไม่ง่วงเช่นเดียวกัน เช่น

– ยาต้านโรคซึมเศร้า

– กลุ่มยาลดความดันโลหิต

– ยาแก้หวัดที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ

– ยาลดอาการบวมอักเสบ/หืดหอบ

4. อาการข้างเคียงจากโรคประจำตัว
โรคประจำตัวบางอย่างมีอาการข้างเคียงที่ส่งผลต่อการหลับนอนได้เหมือนกัน เช่น

– วิตกกังวล หรือซึมเศร้า

– ต่อมลูกหมากโต

– ปวดเรื้อรัง

– โรคเกี่ยวกับระบบประสาท

– ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเนื่องจากความผิดปกติของการสั่งงานของสมอง สังเกตได้จากการนอนกรนเสียงดังกลางดึก อาจเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้

นอนอย่างไรให้หลับ
1. งดเครื่องดื่ม และอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง

2. งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

3. ไม่งีบหลับตอนกลางวันนานเกิน 1 ชั่วโมง (หรืออาจจะไม่เกิน 30 นาที)

4. หากยาที่รับประทานอยู่ส่งผลให้นอนไม่หลับ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาตัวยาใกล้เคียงแทน

5. รักษาโรคประจำตัวให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

6. นอนและตื่นนอนเวลาเดิมๆ ทุกวัน เพื่อให้ร่างกายคุ้นชิน

7. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์

8. สร้างบรรยากาศในห้องนอนให้สงบเงียบ อากาศเย็นสบายไม่หนาวไม่ร้อนเกินไป

9. ไม่เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น มือถือ คอมพิวเตอร์ ก่อนนอน

10. อาจใช้กลิ่นในการช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น ครีมอาบน้ำ โลชั่น สเปรย์ เทียนหอม กลิ่นที่ช่วยให้หลับสบาย เช่น กลิ่นดอกลาเวนเดอร์ เป็นต้น

Share.